top of page

มูลนิธิมานุษยะในงาน #RBHRF2022 มาดูไฮไลต์ของงานกัน!

Writer's picture: Manushya FoundationManushya Foundation












🔥 มูลนิธิมานุษยะกลับมาสู่เวทีการประชุมว่าด้วยภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ณ องค์การสหประชาชาติอีกครั้งในรอบ 3 ปี ครั้งนี้เรามาพร้อมกับเหล่าภาคีใน #ThaiBHRNetwork รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตัวแทนชุมชน และกลุ่ม Asia Task Force เพื่อคัดค้านแผนปฏิบัติการอันไร้ประสิทธิภาพจากรัฐบาล และสนับสนุนให้เกิดการใช้สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เข้มแข็งและมีผลผูกพันตามกฎหมายควบคู่กับมาตรการบังคับตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน!✊


📍 มาดูผลงานชิ้นสำคัญในตลอดงานสัปดาห์นี้กัน!👇


"Stop NAPping!"

🎤คุณเอมิลี่ ปาลามี ประดิจิต ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะได้ประกาศจุดยืนในงาน #RBHRF2022 ในฐานะผู้ดำเนินงานช่วง “CSOs Safe Space” ด้วยถ้อยคำอันหนักแน่นว่า "แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนไม่เคยเพียงพอตั้งแต่แรก เราต้องการมาตรการทางกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบจากภาคเอกชนอย่างแท้จริง! ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของชุมชนในพื้นที่เช่นกัน!"


📍 ในระหว่างงานเวทีการประชุมนี้ สมาชิกจากเครือข่าย #ThaiBHRNetwork และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ส่งเสียงเรียกร้องถึงปัญหาการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคเอกชนที่ตนได้เผชิญแก่คุณพิชามญช์ุ เอี่ยวพานทอง ตัวแทนสมาชิกคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ


📃 ในงานประชุมแสดงความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการ NAP นำโดยคุณนาดา ไชยจิตร พวกเราร่วมพูดคุยกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไทย #ThaiBHRNetwork ที่แสดงความคิดเห็นต่อการบังคับใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนวาระที่ 1 รวมถึงแผนปฏิบัติการวาระที่ 2 ที่อยู่ในระหว่างการร่างในขณะนี้ จนได้ข้อสรุปว่าเอกสารบนหน้ากระดาษเหล่านี้ไม่เคยปกป้องพวกเขาได้จริง และไม่เพียงพอต่อการหยุดการคุกคามจากภาคเอกชน!


🪧 สำหรับงานในวันอังคาร มูลนิธิมานุษยะและตัวแทนชุมชนจากอำเภอจะนะ #SaveChana หมู่บ้านซับหวาย #SaveSabWaiVillagers ชาวบ้านจังหวัดพิจิตร #JusticeForPhichit และชุมชนชายขอบอื่น ๆ ร่วมกันถือป้ายประท้วงในเวทีการประชุมทางการว่าด้วยภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น (UN RBHR) เพื่อส่งเสียงจากคนภาคพื้นให้เป็นที่ประจักษ์บนเวทีโลก! และเพื่อให้เห็นว่าแท้จริงแล้วแผนปฏิบัติการ NAP ของไทยเป็นเพียงหนึ่งในตารางการประชุมของผู้บริหารมากกว่าการลงมือปกป้องสิทธิมนุษยชนตามที่กล่าวอ้าง และยังคงปล่อยให้ภาคเอกชนลอยนวลจากการแสวงหาผลประโยชน์และกำไรบนเลือดเนื้อและผืนดินของเราทุกคน!


📣คุณเอมิลี่ ปาลามี ประดิจิต ประกาศกร้าวในช่วงแสดงความเห็นท่ามกลางงานประชุมว่า ชื่อของมูลนิธิมานุษยะและประชาชนหลายคนต่างถูกนำไปอ้างในการร่างแผนปฏิบัติการอย่างไร้ความชอบธรรม ในขณะที่ผลลัพธ์ที่ออกมาคือการกลบเสียงและปิดกั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยสิ้นเชิง! #StopNAPping


✊ สำหรับงานวันพุธ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี 2 คน คุณพรีมสินี สินทรธรรมทัช ตัวแทนชาวบ้านจังหวัดพิจิตร #JusticeForPhichit และคุณนาดา ไชยจิตร จากมูลนิธิมานุษยะ ได้ยื่นคำร้องกรณีถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากคดีฟ้องปิดปากที่ทั้งคู่เผชิญแก่คุณพิชามญช์ุ เอี่ยวพานทอง ตัวแทนสมาชิกคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเพื่อพิทักษ์สิทธิที่ตนพึงมีจากความช่วยเหลือของนานาชาติต่อไป


🎙️ มูลนิธิมานุษยะและเครือภาคียังได้จัดงานประชุมย่อยที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามในหัวข้อ “National Action Plans: Stocktaking & Charting the Way Forward” ในช่วงกิจกรรมเวที UN RBHR นี้อีกด้วย โดยมีคุณเอมิลี่ ปาลามี ประดิจิตร่วมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสวนาและได้เน้นย้ำถึงสารสำคัญภายในงานว่า "แม้ว่า NAP จะมีกระบวนการที่ดีเพราะเป็นกระบวนการที่เราตั้งใจพัฒนาให้เกิดขึ้น แต่น่าผิดหวังที่เนื้อหาข้างในกลับไร้ประสิทธิภาพ NAP ในตอนนี้จึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือในการฟอกเขียวของภาคธุรกิจและรัฐบาลอย่างชอบธรรมแทน"


#WeAreManushyan - Equal Human Beings เพราะมนุษย์ทุกคนเท่ากัน


👉 การรวมพลังต่อสู้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันขององค์กรภูมิภาคและกลุ่มตัวแทนชุมชนมากมายคือภาพที่เห็นเป็นประจักษ์ตลอดกิจกรรมในสัปดาห์นี้ และเราจะไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้! มูลนิธิมานุษยะจะยังคงเดินหน้าเรียกร้องสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย #BindingTreaty รวมถึงเรียกร้องการบังคับใช้กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน #mHRDD ต่อไปเพื่อมั่นใจได้ว่าสิทธิมนุษยชนของคนตัวเล็ก ๆ บนภาคพื้นจะได้รับการปกป้องอย่างแท้จริง!


📺 หากยังมีข้อสงสัยว่าสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (#LegallyBindingTreaty) คืออะไร สามารถดูคลิปวิดีโอจากเราเพิ่มเติมได้ ที่นี่.


📍 รู้หรือไม่ว่าอะไรคือปัญหาเร่งด่วนและสำคัญที่สุดในด้านภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทย? 🔗 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน UPR ด้านภาคธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมของพวกเราได้ ที่นี่



Kommentarer


bottom of page