top of page

Gaslighting as an abuser's tool: unveiling what it means and how it is weaponized.

Writer's picture: Manushya FoundationManushya Foundation


(TH below)

🧠🕯Gaslighting as an abuser's tool: unveiling what it means and how it is weaponized.


✍️ This week, Merriam-Webster announced that ‘gaslighting’ is the Word of the Year 2022, and this largely sprang from the fact that this word is being used in a much broader sense, from the context of politics to healthcare and even business. Amid these evolutions, one crucial meaning still stands – it represents an aspect of intimate partner violence, especially against women.


🔥 But what exactly is gaslighting? When talking about interpersonal relationships, including romantic ones, gaslighting is defined as “psychological manipulation of a person usually over an extended period of time that causes the victim to question the validity of their own thoughts, perception of reality, or memories…” In plain words, gaslighting leads to you second guessing yourself and feeling like you are in the wrong, even though your partner is hurting you or lacking in their roles.


📌 Gaslighting is nuanced and involves layers that make the deception more effective, allowing the abuser to evade responsibility. With women more likely to be at the receiving end of this type of abuse, this tactic may also be grounded in the gender power imbalance as well as negative stereotypes of women.


🔻 Here are some examples of common gaslighting techniques:

🚩 Trivializing one’s thoughts and emotions. ⚡️When you express your needs or concerns about the relationship, you encounter responses like, “You’re overreacting” “Why are you so sensitive?”, or “Don’t be crazy."

🚩 Countering the truth and creating new stories. ⚡️You brought up a physical attack that happened in the past, but they insisted it never happened.

🚩 Refusing to admit fault while shifting the blame. ⚡️ “I only cheated because you work a lot and never have time for me.”

🚩 Disguising manipulation in compassion and care. ⚡️”If you realize how much I love you, you would know that I would never hurt your feelings.”

🚩 Diverting your attention to other topics.


🌧 Gaslighting is often weaponized to shield other toxic behaviors, such as neglect, infidelity, or even physical abuse. If this form of emotional abuse is endured over a long time, it can diminish your sense of self-worth, make you question your decisions, and contribute to extreme loneliness, depression, and anxiety.


#WeAreManushyan ♾ Equal Human Beings


✊ Manushya Foundation stands firm in our position against intimate partner violence, including various forms of emotional abuse. It is never easy to leave abusive relationships, so when you realize you are being gaslit, you may start with setting your boundaries, paying attention to actions, rather than words, and seek support from loved ones or professionals, if necessary. At the same time, we, as a society, should also demand an education system that nips domestic violence in the bud and eradicate power dynamics between men and women.


🔗 While you’re here...


 

🧠 ชวนเข้าใจความรุนแรงของพฤติกรรม 'Gaslighting' หรือกลวิธีควบคุมทางจิตใจ


✍️ เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา พจนานุกรม Merriam-Webster ประกาศว่า ‘Gaslighting’ (การปั่นหัวเพื่อให้ผู้ถูกกระทำสับสนในความจริง) เป็นคำแห่งปีประจำปี 2022 ส่วนหนึ่งก็เพราะคำนี้ถูกใช้ในบริบทที่กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การพบหมอ หรือแวดวงธุรกิจ แต่ถ้าพูดในบริบทเรื่องความรุนแรงในความสัมพันธ์ โดยเฉพาะความรุนแรงต่อผู้หญิง คำว่า Gaslighting หมายถึงอะไรกันแน่?


🔥 Gaslighting ถูกนิยามว่าเป็น “การบังคับและควบคุมทางจิตใจเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งส่งผลให้เหยื่อตั้งคำถามกับความคิดของตัวเอง ความเป็นจริง หรือแม้แต่ความทรงจำ…” พูดง่ายๆ Gaslighting จะทำให้เราคิดแล้วคิดอีกกับความจริงที่เรารับรู้ และเป็นเหตุให้เราเชื่อว่า ‘เรานี่แหละคือฝ่ายผิด’ ทั้งที่ความจริง เราอาจกำลังถูกกระทำความรุนแรงโดยคนรัก


📌 สิ่งสำคัญเกี่ยวกับกลไกทางจิตใจประเภทนี้คือมันมีความละเอียดอ่อนมาก และประกอบไปด้วยหลากหลายแง่มุมที่ทำให้เราไม่รู้ตัวว่าเรากำลังโดนปั่นหัวหรือควบคุมอยู่ นอกจากนี้ ด้วยเพราะความรุนแรงในความสัมพันธ์มักเกิดกับผู้หญิงมากเป็นพิเศษ Gaslighting จึงทำงานโดยอาศัยอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศในความสัมพันธ์ และภาพจำด้านลบเกี่ยวกับผู้หญิง


🔻 นี่คือสัญญาณบางส่วนว่าเรากำลังถูก Gaslight

🚩 อารมณ์หรือความรู้สึกของเราถูกทำให้เป็นเรื่องเล็ก ⚡เวลาที่เราสื่อสารความต้องการหรือความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ฝ่ายผู้กระทำจะตอบกลับแนวว่า “คิดมากไปเอง” “ทำไมต้องใช้อารมณ์ขนาดนี้?” “อย่าบ้าได้ไหม”

🚩 ไม่ยอมรับความจริง และสร้างเรื่องใหม่ขึ้นมาแทน ⚡️ถ้าเรายกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เขาเคยทำร้ายร่างกายเรา เขาอาจจะพยายามโน้มน้าวเราว่าเรื่องนั้นไม่เคยเกิดขึ้น

🚩 ปฏิเสธความรับผิดชอบ และโยนความผิดมาให้เราแทน ⚡️”ที่ฉันนอกใจเธอ ก็เพราะเธอไม่มีเวลาให้ฉันนั่นแหละ”

🚩 แฝงการปั่นหัวไว้ภายใต้คำว่า “รัก”⚡️”เธอก็รู้นิว่าฉันรักเธอมากขนาดนั้น ฉันไม่มีทางทำร้ายเธอแบบนั้นหรอก”

🚩 เบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่น ไม่ยอมพูดถึงปัญหา


🌧 โดยปกติแล้ว Gaslighting มักถูกหยิบมาใช้เพื่อปกปิดหรือเปิดทางให้กับพฤติกรรมอื่นๆ ในความสัมพันธ์ที่รุนแรงหรือทำร้ายจิตใจ เช่น การไม่ใส่ใจ การนอกใจ หรือแม้แต่การทำร้ายร่างกาย ซึ่งหาก Gaslighting ซึ่งนับเป็นความรุนแรงทางจิตใจรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้นยาวนานติดต่อกัน อาจทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ตั้งคำถามกับการตัดสินใจของตัวเองตลอดเวลา และนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า หรืออาการวิตกกังวล


#WeAreManushyan ♾ Equal Human Beings


✊ มูลนิธิมานุษยะยืนหยัดต่อต้านความรุนแรงในความสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงความรุนแรงทางด้านจิตใจด้วย การเดินออกจากความสัมพันธ์ที่ทำร้ายเราไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฉะนั้น หากรู้ตัวว่าอาจกำลังเผชิญกับการถูก gaslight อยู่ อาจเริ่มจากการต้องเชื่อในการกระทำมากกว่าคำพูด และถ้ารู้สึกว่าจิตใจถูกกระทำอย่างหนัก ต้องขอความช่วยเหลือจากคนที่ไว้ใจได้ หรือผู้เชี่ยวชาญ ในขณะเดียวกัน สังคมโดยรวมยังต้องให้ความรู้การศึกษาเพื่อป้องกันความรุนแรงในครอบครัวตั้งแต่ต้นเหตุ และต่อต้านความไม่เท่าเทียมทางเพศในทุกพื้นที่


🔗 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้...


#ความรุนแรงในครอบครัว #ชายเป็นใหญ่ #ปิตาธิปไตย #เฟมินิสม์ #GenderBasedViolence #IntimatePartnerViolence #DomesticViolence #SexualViolence #Feminism #Patriarchy #Feminist #BreakTheBias #GenderEquality #Equality #HumanRights #Sexism #Misogyny #WomenLeaders


Commentaires


bottom of page