top of page
Writer's pictureManushya Foundation

#HateSpeech ในโลกออนไลน์ทำร้ายนักเคลื่อนไหวเฟมินิสต์อย่างไรบ้าง?











#HateSpeech🗣Hate speech ในโลกออนไลน์ทำร้ายนักเคลื่อนไหวเฟมินิสต์อย่างไรบ้าง?


🦠 ตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 ระบาดทั่วโลก การขับเคลื่อนประเด็นสังคมที่สำคัญต่าง ๆ จำเป็นต้องย้ายมาในโลกออนไลน์ ซึ่งรวมไปถึงสร้างความตระหนักถึงวัฒนธรรมที่เหยียดเพศ หรือการเรียกร้องเพื่อหยุดความรุนแรงที่เกิดจากเหตุแห่งเพศด้วย


🛑 อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักกิจกรรมผู้หญิงและคนเพศหลากหลายเสมอไป เนื่องจากกลุ่มต่อต้านเฟมินิสต์และคนที่จงใจปั่นป่วนได้เข้ามาฉกฉวยเสรีภาพในพื้นที่นี้ไปเป็นเครื่องมือเพื่อส่งต่อความเกลียดชัง และลดทอนประสบการณ์ที่คนชายขอบพบเจอ ส่งผลให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายของผู้ที่ออกมาเรียกร้องต้องถูกบั่นทอนไปด้วย


#WeAreManushyan ♾ Equal Human Beings


✊🏻 มูลนิธิมานุษยะขอเรียกร้องให้บริษัทด้านเทคโนโลยีทั้งหลายดำเนินการตรวจสอบกระบวนการในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง ทุกคนสามารถแบ่งปันความเห็น ความเชื่อ และความเจ็บปวดของตัวเองได้โดยไม่ต้องกลัวการถูกละเมิด เพราะสิทธิมนุษยชนต้องสำคัญกว่ากำไรและเม็ดเงิน!


🗂ด้วยความร่วมมือจาก กลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อ #หยุดเผด็จการดิจิทัล (ASEAN Regional Coalition to #StopDigitalDictatorship) เราได้ส่งรายงานถึงองค์กรสหประชาชาติในประเด็นเรื่อง การประเมินตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบและความโปร่งใสของบริษัทเทคโนโลยี สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่ https://www.manushyafoundation.org/joint-submission-on-the-application-of-the-ungps-on-businessandhumanrights-in-the-tech-sector


----------------

ที่มา:

United Nations: Understanding Hate Speech



American SPCC: Effects of Cyberbullying


Observatory for the Protection of Human Rights Defenders: Standing tall - Women human rights defenders at the forefront of Thailand’s pro-democracy protests


Comments


bottom of page