International Day to End Impunity for Crimes against Journalists
(ภาษาไทยด้านล่าง)
📺 On #InternationalDaytoEndImpunityforCrimesagainstJournalists, we are spotlighting the injustice faced by journalists who risk their lives to deliver us the truth!
⚠️ Amid the younger generation’s fight for democracy in Thailand, Myanmar, Hong Kong, Belarus, and many countries, a crackdown on independent media and voices critical of the governments have intensified. So have the attempts to silence the truths essential for change.
🚫 In 2021, 46 journalists were killed in connection with their work, according to Reporters Without Borders. Of this number, 35% were killed while reporting, including in war zones, while 65% were murdered or deliberately targeted. Several journalists in India were victims of targeted murders for covering local organized crimes; for instance, Avinash Jha was killed after covering a network of illegal clinics.
📲 In times of increasing digitalization, attacks on journalists have also moved to the online sphere where many women and marginalized women face sexual attacks and online gender-based violence.
📌 Why is all of this happening to journalists? Because they speak Truth to Power. Because they report on issues that deserve to be heard and seen!
❓ Still, perpetrators of many of these crimes go unpunished. Is the police complicit in these murders? Are the governments afraid of revealing the truth? Would investigation into the crimes endanger local elites and their business interests? Is this the price journalists have to pay for our freedom of expression and right to information?
#WeAreManushyan ♾ Equal Human Beings
✊🏻 Manushya Foundation demands that governments and all authorities involved ensure the safety of all journalists and guarantee fair investigations of these hideous crimes. Crimes against journalists and online abuse must not be allowed to continue!
📺 วันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปีคือวันยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดของอาชญากรรมต่อสื่อมวลชน รู้หรือไม่ว่ามีผู้สื่อข่าวจำนวนมากกำลังเผชิญกับความอยุติธรรมเพียงเพราะพวกเขาทำตามหน้าที่?
⚠️ ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนรุ่นใหม่ในไทย เมียนมา ฮ่องกง เบลารุส และหลายประเทศทั่วโลก รัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ได้เข้ามาปราบปรามสื่ออิสระและความเห็นที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงความพยายามในการปกปิดความจริงที่จะจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงก็รุนแรงขึ้นด้วยเช่นกัน
🚫 ในปี 2564 อ้างอิงจากข้อมูลจาก Reporters Without Borders ผู้สื่อข่าว 46 คนต้องตายเพราะหน้าที่การงาน และในจำนวนนี้ 35% เสียชีวิตระหว่างรายงานข่าว เช่น ในเขตสงคราม และ 65% ถูกฆ่าโดยจงใจ ในอินเดีย นักข่าวหลายคนตกเป็นเหยื่อของการฆาตรกรรมด้วยเหตุเกี่ยวข้องกับการทำข่าวเรื่องขบวนการอาชญกรรม เช่น Avinash Jha ถูกฆ่าหลังจากเปิดโปงข้อมูลเรื่องคลินิกเถื่อน
📲ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเกิดขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ต การโจมตีนักข่าวก็เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่ออนไลน์เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนักข่าวผู้หญิงและผู้หญิงชายขอบที่ต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศ เช่น คำพูดเหยียดเพศ หรือคำข่มขู่คุกคามที่อยู่บนฐานของเพศ
📌นักข่าวต้องเจอกับชะตากรรมเช่นนี้ เพียงเพราะพวกเขากล้าที่จะพูดความจริงกับผู้มีอำนาจ และรายงานประเด็นที่สมควรเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง!
❓อย่างไรก็ดี ผู้กระทำผิดต่อนักข่าวทั้งหลายก็ยังไม่เคยมีใครถูกลงโทษ คำถามที่ตามมาคือ ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตรกรรมเหล่านี้หรือไม่ ทำไมรัฐบาลถึงกลัวว่าความจริงจะเปิดเผย การสืบสวนสอบสวนจะกระทบประโยชน์ทางธุรกิจของใครหรือไม่? นี่คือราคาที่นักข่าวต้องจ่าย เพียงเพราะพวกเขาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกจริงๆ หรือ?
#WeAreManushyan ♾ Equal Human Beings
✊🏻มูลนิธิมานุษยะเรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรักษาความปลอดภัยของนักข่าว และรับรองว่าจะมีการสืบหาความจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดและการละเมิดนักข่าวทั้งหลาย เราต้องไม่ปล่อยให้อาชญากรรมต่อนักข่าว ทั้งในโลกออนไลน์ และออฟไลน์ ดำเนินต่อไปเช่นนี้!
Comments