#Saveชาวบ้านซับหวาย จากการถูกไล่ที่อย่างไม่เป็นธรรม!
#Saveชาวบ้านซับหวาย ⚖️ ชาวบ้านซับหวาย ชาติพันธุ์อีสานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ เป็นตัวละครหลักในเรื่องราวของความอยุติธรรมอันอุกอาจอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลละเมิดสิทธิในที่ดินของชุมชนพื้นเมืองและเกษตรกรที่ยากจน โดยที่รัฐไม่เคยได้รับการลงโทษและยังคงลอยนวลพ้นผิดจนถึงทุกวันนี้
🚨ชาวบ้าน 14 รายถูกลงโทษทางอาญาอย่างไม่เป็นธรรม ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานบุกรุกและทำลายที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่มานานหลายชั่วอายุคน ซึ่งกลายเป็นที่ดินของอุทยานแห่งชาติไทรทองไปแล้ว และชาวบ้านบางคนถึงกับถูกจับเข้าคุก!
❌ รัฐบาลไทยใช้นโยบายการทวงคืนผืนป่าของประเทศไทยพ.ศ. 2557 และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ในนามของ 'วิธีการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ' เป็นอาวุธในการเอาผิดคนยากจนและชุมชนพื้นเมืองอย่างไม่เป็นธรรม กล่าวหาว่าพวกเขาเป็นผู้ทำลายป่า แทนที่จะเอาผิดกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
👉 นิตยา ม่วงกลาง นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้นำชุมชนหมู่บ้านซับหวาย ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานบุกรุกป่าในบริเวณไร่มันสำปะหลังและบริเวณบ้านของเธอ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม และ 5 พฤษภาคม 2564 ศาลฎีกาได้พิพากษาให้รอลงอาญา 3 ปี และชำระค่าปรับ 190,000 บาท และเนื่องจากการรณรงค์เรียกร้องและกดดันต่อนานาชาติอย่างต่อเนื่องของมูลนิธิมานุษยะ นิตยาจึงได้เป็นอิสระไม่ถูกจับเข้าคุก อย่างไรก็ตามเธอและครอบครัวก็ยังคงถูกข่มขู่คุกคามและจะถูกขับไล่ออกจากที่ดินของเธอ ซึ่งจะทำให้เธอต้องสูญเสียวิถีการดำรงชีวิตและทุกสิ่งที่มี เรื่องราวของนิตยาสะท้อนให้เห็นถึงการกระทำของภาครัฐในประเทศไทยที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวบ้านที่ยากจน ชุมชนพื้นเมือง และชุมชนที่พึ่งพาป่า!
✍️ ผู้มีอำนาจไม่เพียงแค่เอาผิดกับชาวบ้านเท่านั้น แต่พวกเขายังหลอกให้ชาวบ้านบางคนที่ไม่สามารถอ่านเอกสารลายลักษ์อักษร ลงนามเพื่อมอบที่ดินของพวกเขาให้กับรัฐ โดยบอกพวกเขาว่าลายเซ็นของพวกเขาจะทำให้รักษาที่ดินของตนไว้ได้!
✊🏼 เพื่อปกป้องชาวบ้านซับหวายจากการถูกขับไล่ที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม พวกเรามูลนิธิมานุษยะ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ 8 ท่านในเดือนสิงหาคม 2565 เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับชาวบ้านอีสานก่อนกระบวนการของระบบกึ่งยุติธรรมสากล! ⚖️
#ชัยชนะ 📄 หลังจากที่เราได้ส่งหนังสือร้องเรียน ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติทั้ง 9 ท่าน ได้ดำเนินการตามที่เราได้เรียกร้องไป! แถลงการณ์ของสหประชาชาติ (AL THA 3/2022) ถึงรัฐบาลไทยเป็นการเปิดบทใหม่ของเรื่องราวของชาวบ้านซับหวาย: เป็นการเตือนให้ประเทศไทยตระหนักถึงพันธกรณีระหว่างประเทศในการปกป้องชุมชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น แสดงความกังวลเกี่ยวกับการถูกเอาผิดทางกฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมของชาวบ้าน ในนามของการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทย และยอมรับว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยทำคือการคุกคามและการบังคับขับไล่ชาวบ้าน! รัฐบาลไทยต้องรายงานต่อสหประชาชาติในกรณีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมซึ่งละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโดยทันที!
#WeAreManushyan ♾ มนุษย์เท่าเทียมกัน
✊ การต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมของนิตยาและชาวบ้านซับหวายยังไม่จบเพียงเท่านี้! มูลนิธิมานุษยะขอยืนหยัดเคียงข้างชาวบ้านซับหวายและจะเป็นตัวแทนของพวกเขาในระดับสากลต่อไปจนกว่าจะได้รับความยุติธรรมอย่างแท้จริง! เราขอเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ยกเลิกการดำเนินคดีกับชาวบ้านอีสาน! ประเทศไทยต้องยอมรับว่าพวกเขาเป็น "ผู้พิทักษ์ป่า" และต้องทำให้มั่นใจว่าสิทธิในที่ดินของพวกเขาได้รับการเคารพ!
❗️และเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดใช้นโยบายแก้ไขปัญหาสภาพอากาศที่ผิดพลาด เช่น นโยบายการทวงคืนผืนป่า มาเป็นเครื่องมือในการเอาผิดกับผู้บริสุทธิ์ และหันมาให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความรับผิดชอบของนายทุนที่เป็นตัวการที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ!
🌱 ประเทศไทยต้องเปลี่ยนไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ครอบคลุม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นเฟมินิสต์ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าเสียงของชุมชนจะได้รับการรับฟังและเป็นศูนย์กลางในขั้นตอนการวางแผนและดำเนินการมาตรการลดโลกร้อนทั้งหมด!
🔗 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพยายามของเราในการ #Saveชาวบ้านซับหวาย: https://www.manushyafoundation.org/campaign-savesabwaivillagers
หากคุณเลื่อนอ่านมาถึงตรงนี้…
ดูผลงานที่เราได้ทำเพื่อ #Saveชาวบ้านซับหวาย จากการถูกจองจำ การบังคับขับไล่ และความยากจนขั้นรุนแรง และประณามนโยบายแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทย:
#Saveชาวบ้านซับหวาย: ดิจิตอลแคมเปญเพื่อสนับสนุนชาวบ้านของมูลนิธิมานุษยะ
ทุกข้อควรรู้เกี่ยวกับ ข้อเรียกร้องหลักของพวกเราภายใต้ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม, 4 ธันวาคม 2565
#Saveชาวบ้านซับหวาย: เราเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชาวบ้านซับหวายผ่านองค์กรสหประชาชาติอย่างไร?, 1 กันยายน 2565
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: หยุดการบังคับขับไล่ชาวบ้านซับหวาย 14 คน ที่เผชิญกับความยากจนข้นแค้นและไร้ที่อยู่อาศัย!, 5 สิงหาคม 2565
#FightRacism - ประเทศไทยคือสวรรคเฉพาะกับกลุ่มคนรวยเพียง 1% เท่านั้น: รายงานร่วมของภาคประชาสังคมเรื่องการบังคับใช้ ICERD: ตอบกลับประเด็นปัญหาระหว่างการประเมิน CERD ครั้งที่ 105 (15 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม), 25 ตุลาคม 2564
อ่านเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบของข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค สำหรับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) รอบที่ 3 ของประเทศไทย, 29 กันยายน 2564
อ่านเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้คนและโลกต้องมาก่อนผลกำไร สำหรับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) รอบที่ 3 ของประเทศไทย, 13 กันยายน 2564
เอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทยด้วยกฎหมายอนุรักษ์ป่าไม้ที่ไม่ถูกต้อง สำหรับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) รอบที่ 3 ของประเทศไทย, 13 กันยายน 2564
เอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคนอีสาน สำหรับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) รอบที่ 3 ของประเทศไทย, 9 กันยายน 2564
การเสนอร่วมต่อกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Universal Periodic Review: UPR): สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน กฎหมายอนุรักษ์ป่าไม้ และนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, 25 มีนาคม 2564
การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในประเทศไทย: รายงานร่วมจากภาคประชาสังคม: รายการเรื่องที่ต้องพิจารณาโดยคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (CERD) สำหรับการทบทวนรายงานรวมที่สี่ถึงแปดของประเทศไทย (CERD/C/THA/4- 8), 2563
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: ประกันว่าจะมีการอำนวยความยุติธรรมอย่างเป็นธรรมและการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพแก่นักปกป้องสิทธิในที่ดินที่ถูกอาชญากรอย่างไม่เป็นธรรมในคดีอุทยานแห่งชาติไทรทอง, 8 กรกฎาคม 2562
แถลงการณ์ร่วม: องค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติข้อกล่าวหาต่อนักปกป้องที่ดินและสิทธิมนุษยชนสตรีในชุมชนบ้านซับหวาย, 24 มิถุนายน 2562
การยื่นเรื่องด่วนต่อ 7 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ: #Saveชาวบ้านซับหวาย จากการถูกจำคุก! การเอาผิดชาวบ้าน 14 รายอย่างไม่เป็นธรรมตามนโยบายทวงคืนผืนป่าของประเทศไทย, 23 มิถุนายน 2562
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: หยุดการเอาผิดกับนักปกป้องสิทธิที่ดินอย่างไม่เป็นธรรมในอุทยานแห่งชาติไทรทอง, 19 มิถุนายน 2562
อ้างอิง:
#บริจาคในวันปีใหม่ เพื่อสนับสนุน #Saveชาวบ้านซับหวาย และ #JusticeForPhichit, (27 ธันวาคม 2565), อ่านที่นี่
แถลงการณ์ของสหประชาชาติ (AL THA 3/2022) ถึงรัฐบาลไทยกรณีชาวบ้านซับหวาย, (1 ธันวาคม 2565), อ่านที่: https://spcommreports.ohchr.org/TMResultsBase/DownLoadPublicCommunicationFile?gId=27542
#Saveชาวบ้านซับหวาย: เราเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชาวบ้านซับหวายผ่านองค์กรสหประชาชาติอย่างไร?, (1 กันยายน 2565), อ่านที่นี่
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: หยุดการบังคับขับไล่ชาวบ้านซับหวาย 14 คน ที่เผชิญกับความยากจนข้นแค้นและไร้ที่อยู่อาศัย!, (5 สิงหาคม 2565), อ่านที่: https://www.manushyafoundation.org/news-release-savesabwaivillagers-5-august-2022
ประเทศไทย: หยุดการบังคับขับไล่ชาวบ้านซับหวาย 14 คน ที่เผชิญกับความยากจนข้นแค้นและไร้ที่อยู่อาศัย!, (5 สิงหาคม 2565), อ่านที่: https://www.manushyafoundation.org/post/thailand-stop-forced-evictions-of-14-sab-wai-villagers-facing-extreme-poverty-homelessness
#Saveนิตยา - เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับคำตัดสินของศาลที่ไม่เป็นธรรมในกรณีของนิตยา, (6 พฤษภาคม 2564), available at: https://www.manushyafoundation.org/post/savenittaya-what-you-need-to-know-about-nittaya-s-unfair-court-verdict
#Saveชาวบ้านซับหวาย จากการถูกขับไล่ออกจากที่ดินและความยากจนข้นแค้น! การเอาผิดชาวบ้านทั้ง 14 รายอย่างไม่เป็นธรรมภายใต้ “นโยบายทวงคืนผืนป่า” ของประเทศไทย, อ่านที่: https://www.manushyafoundation.org/campaign-savesabwaivillagers-sai-thong-np-case
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญ #Saveชาวบ้านซับหวาย เพื่อสนับสนุนชาวบ้านของมูลนิธิมานุษยะ, อ่านที่: https://www.manushyafoundation.org/campaign-savesabwaivillagers-intro
ดิจิตอลแคมเปญ #Saveชาวบ้านซับหวาย เพื่อสนับสนุนชาวบ้านของมูลนิธิมานุษยะ, อ่านที่: https://www.manushyafoundation.org/campaign-savesabwaivillagers
Commentaires