#Saveชาวบ้านซับหวาย: เราเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชาวบ้านซับหวายผ่านองค์กรสหประชาชาติอย่างไร?
#ด่วนที่สุด 🚨 #SaveSabWaiVillagers 👉 มูลนิธิมานุษยะได้ยื่นคำร้องเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องให้มีการปกป้องคุ้มครองชาวบ้านชุมชนซับหวายทั้ง 14 คน ปัจจุบันชาวบ้านซับหวายกำลังเผชิญกับปัญหาการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากนโยบายด้านสภาพอากาศที่ผิดพลาดและไม่เป็นธรรม
📍จากผลการตัดสินคำพิพากษาศาลฎีกาในปี 2564 ชาวบ้านชุมชนซับหวายอาจถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ได้ทุกเมื่อ ซึ่งหากเกิดกรณีเช่นนั้นขึ้น ชาวบ้านซับหวายจะไม่มีที่ดินทำกินอื่น พวกเขาอาจกลายเป็นคนไร้บ้าน และจะต้องเผชิญกับความอัตคัตขัดสนอย่างมาก
#JustTransition #ClimateJustice ✊🏼 มูลนิธิมานุษยะและเครือข่ายไทรทองรักษ์ป่าได้ยื่นคำร้องเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มีการปกป้องคุ้มครองชาวบ้านทั้ง 14 คน ต่อหน่วยงานกลไกพิเศษของสหประชาติในวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ภายในคำร้องนั้นได้แสดงให้เราเห็นว่าจนถึงปัจจุบันรัฐบาลไทยยังคงเพิกเฉยต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนและข้อผูกพันในการดำเนินการด้านสภาพอากาศ
คำร้องดังกล่าวได้เน้นย้ำและประณามถึงสถานการณ์ล่าสุดที่ชาวบ้านชุมชนบ้านซับหวายนั้นถูกข่มขู่ และเพื่อทำให้เกิดความสนใจต่อผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดแก่ชาวบ้านทั้ง 14 คน และครอบครัวของพวกเขาที่อาจถูกขับไล่จากถิ่นที่อยู่ในเร็ว ๆ นี้ เพราะนอกจากพวกเขาจะไม่สามารถเข้าถึงอาหารและรายได้ การสูญเสียที่ดินทำกินเช่นนี้จะยิ่งทำให้ชุมชนซับหวายเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
📍 นโยบายด้านสภาพอากาศที่ผิดพลาดของรัฐบาลไทยยังคงดำเนินต่อไป และได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างชุมชนซับหวาย ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลไทยยังคงไม่มีมาตราการเร่งด่วนเพื่อจัดการกับสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ กลับยืนยันเพียงปากเปล่าแค่ว่าพวกเขาเองก็สนับสนุนความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากาศ #ClimateInJustice
"เหมือนกับชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศไทย ชาวบ้านซับหวายกลับต้องกลายเป็นแพะรับบาปจากนโยบายที่พร้อมจะสังเวยประชาชนเพื่อแลกกับผลประโยชน์ขององค์กรธุรกิจ ผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศต่างหากที่เป็นคนผิดและควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ" เอมีลี่ ปาลามี ประดิชิต นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ผู้ก่อตั้งและผู้บริการของมูลนิธิมานุษยะ กล่าว
✊🏼 มูลนิธิมานุษยะขอยืนหยัดเคียงข้างชาวบ้านซับหวาย พร้อมประณามนโยบายด้านสภาพอากาศที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลไทย เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยต้องให้การยืนยันว่าจะคุ้มครองชาวบ้านซับหวายจากการถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้ชาวบ้านต้องเผชิญกับความยากจนแร้นแค้น ตามที่รัฐบาลไทยได้มีพันธกรณีผูกพันภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยมีการทบทวนนโยบายเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่ยุติธรรม ครอบคลุม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเป็นมิตรต่อแนวทางสตรีนิยม โดยยึดมั่นชุมชนชายขอบเป็นศูนย์กลาง!
#WeAreManushyan ♾️ Equal Human Beings
➡️ อ่านคำร้องเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน 🔗 ที่นี่
➡️ อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ของเราได้ 🔗 ที่นี่
➡️ ติดตามแคมเปญ #SaveSabWaiVillagers และมูลธินิมานุษยะได้บนโซเชียลมีเดียเพื่อติดตามสถานการณ์และความคืบหน้าเร่งด่วนเกี่ยวกับชาวบ้านซับหวาย
หากคุณอยากใช้เวลาเพิ่มเติมที่นี่...
➡️ ลองอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้ดำเนินการต่าง ๆ และงานของเราเกี่ยวกับ #SaveSabWaiVillagers ทั้งในประเด็นการถูกจองจำ การถูกขับไล่ และจากความยากจนที่ไม่เป็นธรรม พร้อมประณามนโยบายด้านสภาพอากาศที่ผิดพลาด
#SaveSabWaiVillagers: แคมเปญออนไลน์เพื่อช่วยมูลนิธิมานุษยะในการช่วยเหลือชาวบ้านซับหวาย
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: ยุติการทำให้นักปกป้องสิทธิเกี่ยวกับที่ดินภายในอุทยานแห่งชาติสายทองเป็นอาชญากรอย่างไม่เป็นธรรม 19 มิถุนายน 2562
การยื่นคำร้องขอให้มีการดำเนินการเร่งด่วนต่อ 7 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ: #SaveSabWaiVillagers ช่วยเหลือชาวบ้านซับหวายจากการถูกจำคุก! ชาวบ้าน 14 คนถูกทำให้เป็นอาชญากรอย่างไม่เป็นธรรมผ่านนโยบายทวงคืนผืนป่าของไทย 23 มิถุนายน 2562
แถลงการณ์ร่วม: องค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติขอกล่าวหาต่อสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดินในชุมชนซับหวาย 24 มิถุนายน 2562
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: ประกันสิทธิและยืนยันว่าจะมอบความยุติธรรมและการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพแก่นักปกป้องสิทธิในที่ดินที่ถูกทำให้เป็นอาชญากรโดยไม่เป็นธรรมในคดีอุทยานแห่งชาติไทรทอง 8 กรกฎาคม 2562
การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในประเทศไทย: รายงานร่วมจากภาคประชาสังคม: รายงานประเด็นที่ต้องได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (CERD) เพื่อพิจารณาและทบทวนรายงานตั้งแต่ระยะที่สี่ถึงแปดของประเทศไทยในปี 2563 (CERD/C/THA/4- 8)
รายงานร่วมต่อการทบทวนด้านสิทธิมนุษยชน: สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ 25 มีนาคม 2564
บันทึกข้อเท็จจริงของมูลนิธิมานุษยะเพื่อรายงานต่อการเข้ากระทวบการทบทวนสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 3 ของประเทศไทย: คนอีสาน 9 กันยายน 2564
บันทึกข้อเท็จจริงของมูลนิธิมานุษยะเพื่อรายงานต่อการเข้ากระทวบการทบทวนสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 3 ของประเทศไทย: วิธีการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาด และกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ล้มเหลวของประเทศไทย 13 กันยายน 2564
#FightRacism - ประเทศไทยคือสวรรค์ แต่สำหรับ 1% เท่านั้น: รายงานคู่ขนานร่วมจากภาคประชาสังคมเกี่ยวกับการบังคับใช้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ: Reply to the List of Themes CERD/C/THA/Q/4-8 105th CERD session (15 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม), 25 ตุลาคม 2564
⎯
#ClimateJustice #JustTransition #CorporateAccountability #Saveชาวบ้านซับหวาย #Saveนิตยา #Saveสมพิตร #WhatsHappeningInThailand #HumanRights #LandRightsNow #WHRDs #PeopleOverProfit #PlanetOverProfit #LandDefenders #MilkTeaAlliance #OurPlanetOurHealth #CorporateCapture #environmentaljustice #LetTheEarthBreathe #climateactionnow #ClimateChange #ClimateChangeIsReal #PeopleOverProfit #HumanRights #HumanRightsDefenders
댓글