top of page

Thailand's UPR & CERD Review: What does the Government need to do now?

Writer's picture: Manushya FoundationManushya Foundation









✊🏻 (English Below) วันที่ 19 มกราคม 2565 ผู้เชี่ยวชาญและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนร่วมกันเสวนาวิชาการ ซึ่งจัดโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Amnesty International Thailand) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation) และมูลนิธิมานุษยะ (Manushyah Foundation) ภายในงาน Connect Fest Social Movement Week For All


🗣คุณดนย์ ทาเจริญสุข นักวิจัยสิทธิมนุษยชนและผู้จัดการโครงการ มูลนิธิศักยภาพชุมชนกล่าวถึงภาพรวมของกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review or UPR) กระบวนการนี้เป็นการทำงานภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council or HRC) ในลักษณะเพื่อนเตือนเพื่อน (Peer Review) จึง “ไม่ใช่” กระบวนการที่สหประชาชาติมีอำนาจเหนือประเทศสมาชิกอย่างที่เข้าใจกัน การทบทวนแต่ละครั้งเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งรายงาน ซึ่งคุณดนย์สนับสนุนให้ประชาชนใช้โอกาสนี้ในการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศให้เพื่อนๆต่างประเทศรับรู้


🎙คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเล่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยที่แย่ลงเรื่อยๆ รัฐบาลไทยได้รับจำนวนข้อเสนอที่ “มากขึ้น” ทุกครั้งจากการทบทวนแต่ละรอบที่จัดขึ้นทุก 4 ปีครึ่ง แต่กลับเลือกที่จะรับข้อเสนอ “น้อยลง” เรื่อยๆ การกระทำเช่นนี้แสดงถึงความจริงจังของรัฐบาลที่จะ “ไม่ให้”พื้นที่สำหรับประชาชนและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะหลังการรัฐประหารที่คุณพรเพ็ญมองว่า การบังคับใช้พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาลเป็นการใช้กฎหมาย “พิเศษ” เพื่อจำกัดสิทธิมนุษยชน “อย่างถ้วนหน้า” ส่งผลให้เยาวชนและภาคประชาชนสูญสิ้นพละกำลังในการผลักดันให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยดีขึ้น


⚠️คุณปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวถึงประเด็นกฎหมายควบคุมภาคประชาชนว่า ประเทศเซลาลีโอนให้ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทยให้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อรับประกันการทำงานของภาคประชาสังคม แต่รัฐบาลไทยกลับยอมรับ แต่กลับเดินหน้าร่าง พ.ร.บ. การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร ที่มีบทบัญญัติคลุมเครือ เช่น การกำหนดข้อห้ามไม่ให้ดำเนินการที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม หรือส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ เอื้อต่อการใช้อำนาจในทางมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ


🏳️‍🌈คุณนาดา ไชยจิตต์ Human Rights Campaign Advisor มูลนิธิมนุษยะ พูดถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยว่า #การสมรสเท่าเทียม นั้น “ขัดต่อกฎธรรมชาติ” ของการสร้างครอบครัวที่ละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นการขัดต่อกติการะหว่างประเทศ “ทุกฉบับ” ด้วยการสร้างมาตรฐาน “ใหม่” ที่ “ต่ำกว่า” มาตรฐานระดับโลก คุณนาดายังกล่าวถึงการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีความแตกต่างที่มีรากฐานมาจากความเกลียดชัง แต่ประเทศไทยกลับไม่มีกฎหมายที่ใช้จัดการกับประทุษวาจา (Hate Speech) และอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียด


🎤คุณสุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำนวยการ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิมนุษยชนท้องถิ่น กล่าวว่า ชนเผ่าพื้นเมืองเป็น “คำแสลง” สำหรับรัฐบาลไทยตลอดมา รัฐบาลไทย “ไม่เคยยอมรับ” การมีอยู่ของเผ่าพื้นเมือง เพราะการยอมรับเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบต่อรัฐบาล นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังตีความอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination or CERD ) ที่จะ “ไม่ขัด” ต่อรัฐธรรมนูญของไทย เช่น กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มีอำนาจเหนืออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ


💪🏻มูลนิธิมนุษยะขอยืนเคียงข้างผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายภาคประชาชนในการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะจาก UPR เพื่อยืนยันถึงพันธกรณีมนุษยชนประหว่างประเทศ


#WeAreManushyan ♾️ Equal Human Beings



________________________________________________________________________________


✊🏻 On Wednesday 19 January, human rights experts and activists came together to an academic human rights forum co-organized by Amnesty International Thailand, Cross Cultural Foundation and Manushya Foundation as a part of “Connect Fest 2: Social Movement For All”. What did the speakers talk about? Read on to find out ⤵️


🗣Dom Tajaroensuk, Human Rights Researcher and Project Manager of People’s Empowerment Foundation gave an overview of UN Human Rights mechanisms, especially the Universal Periodic Review (UPR). Don noted that since it is a peer review, this mechanism is not used by the United Nations to exercise power over member states as many understand. Don also encouraged the public to take the opportunity to submit a report to periodic reviews and report on the human rights situation in Thailand!


🎙Pornpen Khongkachonkiet, Director of Cross Cultural Foundation illustrated the deteriorating human rights situation in Thailand. Although the Thai government was given more recommendations than during the previous cycle, it actually chose to accept fewer of them. This indicates the assertion of the Thai government to limit civic space, particularly after the coup d'état. Pornpen saw the use of the COVID-19 Emergency Decree as a “special” weapon of the Thai government to suppress political rights. It drains the energy of the youth and civil society in fighting for a better human rights situation in Thailand.


⚠️Piyanut Kotsan Director of Amnesty International Thailand addressed problems of the draft act on operations of Not-for-Profit Organizations (NPO law). Although Sierra Leone gave a recommendation to the Thai government to establish concrete procedures to guarantee the work of civil society, the Government chooses not to implement it. The ambiguous provisions of the NPO law related to national security, international relations, good morals or public interest could leave the organizations at risk of abuse of power by the authorities.


🏳️‍🌈 Nada Chaiyajit, Human Rights Campaign Advisor of Manushya Foundation talked about the Constitutional Court verdict stipulating that #MarriageEquality is against the “natural order” of establishing a family. This blatantly violates “all” principles of international human rights standards by creating a new standard that is below the international one. Nada also reminded that the root of discrimination lies in hate. However, there is no law to govern crimes driven by hate, including hate speech.


🎤 Sumitchai Huttasan, Director of Center for Protection and Revival of Local Community Rights uncovered that the term “indigenous” has irritated the Thai government. The Government has never acknowledged the existence of indigenous peoples in Thailand since doing so would bring more responsibilities. Moreover, the Thai government interprets the Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination within the scope of the Constitution while the National Park Act 1961 is implemented instead of the Convention.


#WeAreManushyan ♾️ Equal Human Beings


Comments


bottom of page