#WeAreJustTransition: ถึงเวลาของการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม!
24 พฤศจิกายน 2565, กรุงเทพฯ - มูลนิธิมานุษยะ, Thai Climate Justice for All (TCJA), มูลนิธิภาคใต้สีเขียว, เครือข่ายความร่วมมือของภาคประชาสังคมเพื่อการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย, Thai Business & Human Rights Network, และภาคีองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมที่หลากหลาย ได้รวมตัวกันครั้งใหม่ในนาม #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เพื่อเปิดตัว ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า ในการแถลงข่าวที่โรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ในปฏิญญาดังกล่าว เครือข่ายของเราได้เสนอข้อเรียกร้องสำคัญต่อที่ประชุมระหว่างประเทศ COP27 และ APEC2022 รัฐบาลไทย และภาคเอกชน เพื่อให้มีการรับฟังเสียงของพวกเราท่ามกลางภัยฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน และการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม
ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศในระดับต้นของโลก ที่เสี่ยงต่อผลกระทบจากวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ[1] แต่รัฐบาลไทยไม่ดำเนินการอย่างเพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายนี้ และยังเลือกการฟอกเขียวและให้สัญญาที่ว่างเปล่าดังที่กฤษฎา บุญชัย ผู้ประสานงาน TCJA ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการนี้อธิบายไว้ว่า:
นิตยา ม่วงกลาง แกนนำชุมชนที่เป็นตัวแทนของชาวบ้านซับหวาย 14 คนถูกดำเนินคดีอาญาตามการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่จอมปลอมของประเทศไทย เธอได้กล่าวว่า:
คะติมะ หลีจ๊ะผู้หญิงพื้นเมืองเผ่าลีซู สมาชิกของเครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย เน้นถึงจุดยืนร่วมกันในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ
นาดา ไชยจิตต์ ที่ปรึกษาการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน มูลนิธิมานุษยะกล่าวสรุป:
เราได้เสนอปฏิญญาภาคประชาชนในระหว่างการแถลงข่าว “จะไม่มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม หากไม่มีพวกเรา” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 นาดา ไชยจิตต์ เป็นผู้ดำเนินรายการ และนำเสนอบริบทที่นำไปสู่การจัดตั้งขบวนการเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยมีวิทยากรประกอบด้วย:
อ้างอิง
[1] Germanwatch, CRI: 10 countries most affected from 2000 to 2019, (25 มกราคม 2564), จาก: https://www.germanwatch.org/en/19777
[2] มูลนิธิมานุษยะ, Land-related Rights, Forest Conservation Laws & Climate Change Policies: Joint Submission to the UN Universal Periodic Review (UPR) for Thailand’s Third UPR Cycle, (25 มีนาคม 2564), จาก: https://www.manushyafoundation.org/joint-upr-submission-landrights; มูลนิธิมานุษยะ, Why we need to #SaveBangkloi, (11 มีนาคม 2564), จาก: https://www.manushyafoundation.org/post/why-we-need-to-savebangkloi; มูลนิธิมานุษยะ, No to the UNESCO "World Heritage Site"! We need to #SaveBangkloi!, (6 กันยายน 2564), จาก: https://www.manushyafoundation.org/post/what-s-wrong-with-world-heritage-savebangkloi; มูลนิธิมานุษยะ, Complaint for Urgent Action for Protection of the 14 Sab Wai Villagers, facing human rights violations due to Thailand’s False Climate Solutions, (4 สิงหาคม 2565), จาก: https://www.manushyafoundation.org/complaint-for-urgent-action-savesabwaivillagers-from-forced-evictions; มูลนิธิมานุษยะ, #SaveSabWaiVillagers from Forced Evictions & Extreme Poverty! The Unfair Criminalization of 14 Villagers under Thailand’s “Forest Reclamation Policy”, (2565), จาก: https://www.manushyafoundation.org/campaign-savesabwaivillagers
[3] มูลนิธิมานุษยะ, News Release: Lao Government and Implicated Companies Must Deliver Justice For Survivors of 2018 Attapeu Dam Collapse, (26 กรกฎาคม 2565), จาก: https://www.manushyafoundation.org/laogovernment-and-implicatedcompanies-must-deliver-justice-for-survivors-of-attapeudamcollapse; มูลนิธิมานุษยะ, Follow-Up UN Complaint to seek Justice for the Survivors of the Xe-Pian Xe-Namnoy Dam collapse in Attapeu Province, Laos, (28 กุมภาพันธ์ 2565), จาก: https://www.manushyafoundation.org/followup-un-complaint-on-attapeu-xpxn-dam-collapse; มูลนิธิมานุษยะ, News Release: Responsible governments and implicated companies must ensure safety and effective access to information of communities living near the Nam Theun 1 dam in Laos, (23 สิงหาคม 2565), จาก: https://www.manushyafoundation.org/23-aug-news-release-on-nam-theun-dam-1
Comments