#YouthSpeakDemocracy บทสัมภาษณ์พิเศษ: “เก็ท” - นักกิจกรรมที่ฝันอยากให้ไทยเสรีทางความคิด
🔊#YouthSpeakDemocracy บทสัมภาษณ์พิเศษ: คุยกับ “เก็ท” - โมกหลวงริมน้ำ นักกิจกรรมที่ฝันอยากให้ไทยมีเสรีภาพในการแสดงออก
อาทิตย์ที่แล้ว มานุษยะได้แนะนำโครงการล่าสุดของเราที่ชื่อ “Youth Power Democracy” ที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้เยาวชนในประเทศไทยได้ส่งเสียงถึงผู้มีอำนาจ สอดคล้องกับยุคที่คนรุ่นใหม่ในสังคมไทยออกมาเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากขึ้น ในโอกาสของการเลือกตั้งที่จะเกิดในวันอาทิตย์นี้ เราอยากพาทุกคนไปฟังเสียงจากอีกหนึ่งนักกิจกรรมเยาวชนที่อุทิศตนเพื่อการขับเคลื่อนประชาธิปไตย ปกป้องสิทธิมนุษยขน และนำมาซึ่งความเท่าเทียม
ครั้งก่อน เรานำเสนอบทสัมภาษณ์ของ “บุ้ง” ที่พูดถึงความตั้งใจในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และผลักดันการเพิ่มพื้นที่ในการแสดงออกสำหรับคนคิดต่าง วันนี้ ในบทสัมภาษณ์ฉบับที่ 2 ทุกคนจะได้รู้เกี่ยวกับการต่อสู้ของ “เก็ท” นักกิจกรรมจากลุ่มโมกหลวงริมน้ำ เขาเชื่อมั่นว่าประชาธิปไตยต้องไปไกลกว่าการเลือกตั้ง และเน้นย้ำความจำเป็นของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในฐานะหัวใจของสังคมไทยที่ดีขึ้น
ประเด็นอะไรที่เก็ทกำลังผลักดันในช่วงก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งนี้?
“เรื่องสำคัญที่เราผลักดันอยู่ตอนนี้คือ ‘เลือกตั้งจะไม่ใช่จุดสิ้นสุดของประชาธิปไตย’ แน่นอนว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญและเป็นโอกาสในการส่งคนเข้าสภา แต่เราเห็นมาตลอดว่ากกต.มีพิรุจ โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรงบประมาณหรือการกระบวนการต่างๆ รวมถึงเรื่องบัตรเลือกตั้งหรือการแบ่งเขต สว.ก็ยังมีอำนาจในการเลือกนายกอยู่”
“สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งอาจเป็นได้หลายทาง สว.จะเลือกนายกคนนอกหรือไม่ รัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งจะฟังเสียงประชาชนหรือเปล่า มีอีกหลายประเด็นที่เราต้องจับตาดู ไม่ใช่แค่เรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หรือแก้ไขมาตรา 112 แต่ยังมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วย
ถ้าการเลือกตั้งไม่ราบรื่นแต่เกิดรัฐประหารล่ะ สถานการณ์จะเป็นอย่างไร เพราะทางเดียวที่ผู้มีอำนาจจะกอดอำนาจไว้ได้เมื่อไม่มีอำนาจต่อรองคือการรัฐประหาร ถ้าถึงเวลานั้น เราอาจต้องต่อสู้นอกสภา”
ในช่วงรัฐประหารเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเผด็จการชุดนี้ส่งผลอย่างไรกับชีวิตของเก็ทในฐานะเยาวชนบ้าง?
“เราเห็นชัดว่าสภาพสังคมที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาเชิงปัจเจก เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ได้แค่คนเดียว เพราะเราอยู่ในโครงสร้างเดียวกัน”
“ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ถ้าเราพูดคุยกันถึงปัญหาในองค์กร เราจะสามารถหาทางออกและแก้ปัญหาได้ ประเทศก็ควรจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ถ้าชาวนา ชาวไร่ เกษตกร ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา หรือใครก็ตามพูดว่าโครงสร้างมีปัญหา เราก็ควรแก้ไข ไม่ใช่ฟ้องปิดปาก แต่ปัญหาคือผู้บริหารประเทศไม่เคยฟังเรา”
“ช่วง 4 ปีแรก เราคิดว่ารัฐบาลจากการรัฐประหารจะอยู่ไม่นาน แต่เราโดนทำลายความหวังในช่วงเลือกตั้งปี 2562 เพราะสว.ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช 249 คนกลับเลือกนายกคนนอก นี่เป็นการทำลายกระบวนประชาธิปไตยและเป็นการบิดเบือนขั้วอำนาจอธิปไตยอย่างชัดเจน”
“เราไม่พอใจกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่อนุญาตให้ประยุทธ์อยู่ต่อได้อีก 2 ปี และเราก็ไม่พอใจกับการที่นั่งร้านของเขาจะอยู่ต่อเช่นเดียวกัน”
“การรัฐประหารเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก อายุหยกในตอนนี้พอๆ กับผมในตอนที่เกิดรัฐประหารขึ้น เราไม่อยากเห็นคนที่เด็กกว่าเราต้องมาเจอเรื่องแบบนี้ เราพูดตลอดว่าขอให้มันจบที่รุ่นเรา”
เรื่องไหนที่คิดว่ารัฐบาลชุดหน้าต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ?
“เราอยากให้รัฐบาลหน้าส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก ที่ผ่านมาการแสดงความคิดเห็นทำให้เราต้องโดนคดี ประเทศไปต่อไม่ได้เพราะผู้มีอำนาจไม่ฟังประชาชน ในรัฐบาลหน้า ปัญหาเดิมๆ ก็ยังคงค้างคาอยู่ ถ้ามีคนออกมาพูดอีก เขาต้องโดนคดีอีกหรือ”
“เราจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกตกทอดจากคสช. เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมกฎหมายอื่นๆ เราต้องเน้นย้ำว่ารัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก”
“นอกจากนี้ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการนิรโทษกรรมจะต้องเกิดขึ้น ซึ่งผมไม่ได้มองว่าต้องเป็นแค่เสื้อแดงหรือคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่รวมถึงฝั่งขวาด้วย ถ้าเขาแค่มีความเห็นต่าง เขาก็ไม่สมควรถูกดำเนินคดี”
อยากบอกอะไรกับรัฐบาลหน้าและคนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้ง?
“อยากให้รัฐบาลหน้าให้พื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น อย่ามองคนเห็นต่างเป็นอาชญากร เราแค่เห็นต่างจากคุณ ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปฆ่าแกงคุณ สังคมเราไม่ได้ต้องการแค่ความสงบ สังคมเราต้องการการแก้ปัญหา การที่คุณใช้วิธีต่างๆ เพื่อจัดการกับคนเห็นต่างยิ่งทำให้รุ่นลูกรุ่นหลานคุณล่มจมไปอีก เผลอๆ อาจเป็นรุ่นคุณเองด้วยซ้ำ”
“นอกจากรัฐบาลแล้ว เราอยากฝากถึงประชาชนด้วย ตั้งแต่เริ่มเข้าหามวลชนมากขึ้น เราค้นพบว่าตั้งแต่เด็กไปถึงคนอายุมากรับรู้ถึงปัญหาสังคม แต่ไม่รู้วิธีแก้ ยิ่งคนอายุมาก ยิ่งสิ้นหวังกับประเทศเรา คนรุ่นใหม่ก็โดนทำลายความหวังมาไม่รู้กี่ครั้ง”
“คดีทางการเมืองหรือปัญหาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมเราเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับทุกคนในสังคม เราโดนกดขี่โดยโครงสร้างและเราอยู่ภายใต้โครงสร้างเดียวกัน”
“วันหนึ่ง ผมหรือตะวันพูดแล้วโดนกดทับ วันหลังอาจจะเป็นคนอื่นที่ออกมาพูดถึงราคาข้าว หรือโจมตีนายทุนเรื่องค่าไฟ คุณอาจจะเป็นคนที่ถูกดำเนินคดีแบบพวกเราก็ได้ ทั้งหมดมันคือเรื่องเดียวกัน”
ก่อนจะกดออก…
อ่านสัมภาษณ์จาก “บุ้ง” - เนติพร เสน่ห์สังคม จากกลุ่มทะลุวัง นักกิจกรรมเยาวชนผู้มุ่งมั่นผลักดันเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไทย 👉🏻 https://bit.ly/3nEdG8S
นอกจากนี้ เราขอนำเสนองานที่ผ่านมาในการสนับสนุนประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ และต่อสู้เพื่อความรับผิดชอบของภาคธุรกิจและความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ การเสริมพลังให้ผู้นำหญิง และการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์
➡️ เราเผยแพร่รายงาน ‘Everything You Need to Know about #WhatsHappeningInThailand’
ร่วมกันกับหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนอีก 50 กลุ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกระบวนการ UPR ของไทย รายงานนี้อธิบายภาพรวมของประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศและข้อแนะนำของเราในการพัฒนาประเทศไทยให้ดีขึ้น
➡️ เราจัดทำและเผยแพร่รายงาน CEDAW ฉบับภาคประชาสังคม ร่วมกับกลุ่มเฟมินิสต์และกลุ่มสนับสนุนสิทธิสตรี รายงานนี้พูดถึงปัญหาของผู้หญิงทุกคนและเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเราที่จะผลักดันหลักการเฟมินิสม์แบบอัตลักษณ์ทับซ้อน (Intersectional Feminism) และขับเคลื่อนให้ผู้นำหญิงเป็นศูนย์กลางของงานสิทธิมนุษยชนในไทยและเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน!
➡️ เราตีแผ่สถานการณ์ขององค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทย ซึ่งต้องเจอกับความท้าทายในการทำงาน เนื่องจากแทบไม่มีพื้นที่การแสดงออกและยังเผชิญปัญหาจากร่าง พ.ร.บ.เอ็นพีโอ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้มงวดและมีเป้าหมายเพื่อควบคุมและลงโทษภาคประชาสังคม
➡️ นอกจากนี้ เรายังจัดทำเอกสารร่วมเรื่อง 'สิทธิดิจิทัลในประเทศไทย' สำหรับ UPR ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย และ 'เอกสารข้อเท็จจริง UPR Advocacy Factsheet ว่าด้วยสิทธิดิจิทัลในประเทศไทย' เพื่อแสดงให้เห็นถึงการละเมิดกฎหมายของประเทศไทยที่มุ่งจำกัดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนทางออนไลน์
➡️ เราเปิดตัวแคมเปญเพื่อ #StopDigitalDictatorship ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อต่อสู้กับเผด็จการดิจิทัลในภูมิภาค
➡️ เราได้จัดทำ ‘UPR Advocacy Factsheet on Civic Space in Thailand’ เพื่อต่อสู้กับการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐบาลและเรียกร้องความยุติธรรมในระดับสากล
➡️ เราได้จัดทำเอกสารร่วมเกี่ยวกับสิทธิของ SOGIESC และอีกฉบับหนึ่งเกี่ยวกับเยาวชนและเด็ก LGBTIQ+ สำหรับ UPR ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย เพื่อรายงานการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล LGBTIQ+ ในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังเตรียมเอกสารข้อเท็จจริงของ UPR Advocacy เกี่ยวกับสถานการณ์ของบุคคล LGBTIQ+
➡️ เราต่อต้านการครอบงำองค์กรและสนับสนุนชุมชนในการต่อสู้กับการทุจริตและการละเมิดที่สร้างผลกำไรให้กับผู้คนและโลกใบนี้:
➡️ #JusticeForPhichit: เราให้การสนับสนุนชาวบ้านในจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการดำเนินงานของบริษัทเหมืองทองคำ ผู้ที่ต่อต้านบริษัทต้องเผชิญกับการคุกคามด้วยกฎหมายและโดนฟ้องปิดปาก ส่วนหนึ่งของงานของเราในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับพวกเขา เราจะต่อสู้เพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของพวกเขาได้รับการเคารพและปกป้อง
➡️ #SaveSabWaiVillagers: เราเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชาวบ้านซับหวายที่ตกเป็นเหยื่อของการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่บิดเบี้ยวของประเทศไทย ซึ่งทำให้ชาวบ้านที่พิทักษ์ป่ากลายเป็นอาชญากร!
➡️ เราก่อตั้ง #WeAreJustTransition Movement เพื่อให้การเรียกร้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และส่งเสียงเรื่องความกังวลของเราร่วมกับชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายฟอกเขียว และการดำเนินคดีภายใต้นโยบายการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่บิดเบี้ยวของประเทศไทย
#ThailandElection2023 #เลือกตั้ง66 #WhatsHappeningInThailand #Abolish112 #MonarchyReform #WealthInequality #StopDigitalDictatorship #ยกเลิก112 #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ #ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล่าง #SaveThaiDemocracy #DemocracyNow #MilkTeaAlliance #พรบคอม #ทะลุวัง
Comments