top of page
Writer's pictureManushya Foundation

#YouthSpeakDemocracy: ‘จิ้บ’ นักกิจกรรมที่อยากให้อำนาจทหารหมดไปจากการเมือง



ช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา เราเผยแพร่สัมภาษณ์บทสัมภาษณ์กับนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชนในไทย ภายใต้ซีรีส์ “Youth Speak Democracy” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เยาวชนได้พูดถึงความพยายาม ความหวัง และความฝันในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยในประเทศไทย


บทสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ เราพาทุกคนไปฟังเสียงจากบุ้งและเก็ท ทั้งสองได้แสดงความเห็นและข้อเรียกร้องจากประสบการณ์จริงเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย ทั้งความรุนแรงจากรัฐบาลและความจำเป็นในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ วันนี้ เราขอนำเสนออีกหนึ่งมุมมองจาก ‘จิ้บ’ - กัลยกร สุนทรพฤกษ์ สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เธอเล่าถึงความต้องการในการ “นำทหารออกจากการเมือง” และร่างประชาธิปไตยใหม่ที่เป็นธรรม เพื่อความมั่นคงของประชาธิปไตยไทยในระยะยาว


เรื่องที่อยากผลักดันมากที่สุดตอนนี้คืออะไร?


เราอยากผลักดันเรื่องการกำจัดการแทรกแซงอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทหารหรือกองทัพ ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญของเราถูกฉีก


อีกทั้งยังมีกลุ่มทุนต่างๆ ที่เข้ามาแทรกแซงอำนาจประชาชน ทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจน้อยลง เช่นเรื่องการผูกขาดเบียร์ การแทรกแซงกฎหมายเอื้อให้ทุนผูกขาดสร้างแบรนด์ของตัวเองได้ และคนทั่วไปไม่สามารถเข้ามาทำธุรกิจเบียร์ได้ถ้าไม่ได้ขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้


ทำไมถึงอยากผลักดันประเด็นนี้ สิทธิของเราต้องถูกละเมิดเพราะการแทรกแซงทางการเมืองอย่างไรบ้าง?


รัฐประหารคือปัญหาที่สำคัญที่สุด เผด็จการจากการรัฐประหารเป็นการแทรกแซงทางการเมืองที่มาจากการรับรองของสถาบันกษัตริย์ และไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองเท่านั้น


ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดมาตลอดตั้งแต่ที่คณะราษฎร์ปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว เราคิดว่าประชาธิปไตยไทยต้องหยุดชะงักจากรัฐประหารมามากพอแล้ว ประเทศไทยควรไปได้ไกลกว่านี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ถึงสำคัญเพราะเป็นอีกหนึ่งทางออกหนึ่งที่จะหยุดวงจอุบาทว์นี้ได้


เผด็จการในรูปแบบทหารกระทบชีวิตเราในฐานะเยาวชนอย่างไร?


การแทรกแซงทางการเมืองผ่านการรัฐประหารกระทบการแสดงออกทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด รัฐบาลเผด็จการจากการรัฐประหารจะตั้งกฎพิสดาร พลิกแพลงกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง หรือกีดกันไม่ให้ประชาชนวิจารณ์อย่างไรก็ได้



สิ่งไหนผิดปกติ เราควรต้องวิจารณ์เพื่อนำไปสู่การแก้ไข แต่รัฐบาลเผด็จการไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องฟังประชาชน ดังนั้น เขาสามารถใช้กฎหมายระงับไม่ให้เราแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับเขา


อยากให้รัฐบาลหน้าผลักดันนโยบายอะไรเป็นพิเศษ?


รัฐธรรมนูญคือเรื่องที่สำคัญที่สุด รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการแทรกแซงอำนาจ ไม่ได้มาจากประชาชน


กระดุมเม็ดต่อมาที่ต้องมาคู่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการเอาทหารออกจากการเมือง การแทรกแซงอำนาจส่วนใหญ่เกิดจากกองทัพ เพราะฉะนั้นเราต้องป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ ไม่ให้ทหารยุ่งกับการเมืองได้อีก ถ้าทหารอยากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง ต้องออกจากตำแหน่งและทิ้งอำนาจไปเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อน วิธีเช่นนี้จะป้องกันอำนาจทับซ้อนระหว่างกองทัพกับอำนาจทางการเมือง


ที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญถูกฉีกบ่อยมาก ทั้งที่กฎหมายใหญ่ไม่ควรต้องถูกฉีกบ่อยแบบนี้ เราควรมีกฎหมายแม่ที่มั่นคงเพื่อให้สังคมสงบและปิดสวิชต์ช่องทางพิเศษของทหาร


สิ่งที่อยากพูดกับรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งคืออะไร?


ขอให้รัฐบาลสมัยหน้าพิทักษ์สิทธิประชาชน ถ้าประชาชนวิจารณ์ ขอให้รับฟัง อย่าใช้วิธีฟ้องปิดปากเหมือนรัฐบาลทหาร ขอให้รักษาและป้องกันสิทธิประชาชนในอนาคตด้วย


ก่อนจะกดออก

  • อ่านสัมภาษณ์จาก “เก็ท” โมกหลวงริมน้ำ นักกิจกรรมที่ฝันอยากให้ไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก 👉🏻https://bit.ly/3Mh1Ef3

  • อ่านสัมภาษณ์จาก “บุ้ง” - เนติพร เสน่ห์สังคม จากกลุ่มทะลุวัง นักกิจกรรมที่มุ่งมั่นผลักดันเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไทย 👉🏻 https://bit.ly/3nEdG8S

  • นอกจากนี้ เราขอนำเสนองานที่ผ่านมาในการสนับสนุนประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ และต่อสู้เพื่อความรับผิดชอบของภาคธุรกิจและความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ การเสริมพลังให้ผู้นำหญิง และการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์

➡️ เราเผยแพร่รายงาน ‘Everything You Need to Know about #WhatsHappeningInThailand’

ร่วมกันกับหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนอีก 50 กลุ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกระบวนการ UPR ของไทย รายงานนี้อธิบายภาพรวมของประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศและข้อแนะนำของเราในการพัฒนาประเทศไทยให้ดีขึ้น


➡️ เราจัดทำและเผยแพร่รายงาน CEDAW ฉบับภาคประชาสังคม ร่วมกับกลุ่มเฟมินิสต์และกลุ่มสนับสนุนสิทธิสตรี รายงานนี้พูดถึงปัญหาของผู้หญิงทุกคนและเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเราที่จะผลักดันหลักการเฟมินิสม์แบบอัตลักษณ์ทับซ้อน (Intersectional Feminism) และขับเคลื่อนให้ผู้นำหญิงเป็นศูนย์กลางของงานสิทธิมนุษยชนในไทยและเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน!


➡️ เราตีแผ่สถานการณ์ขององค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทย ซึ่งต้องเจอกับความท้าทายในการทำงาน เนื่องจากแทบไม่มีพื้นที่การแสดงออกและยังเผชิญปัญหาจากร่าง พ.ร.บ.เอ็นพีโอ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้มงวดและมีเป้าหมายเพื่อควบคุมและลงโทษภาคประชาสังคม


➡️ นอกจากนี้ เรายังจัดทำเอกสารร่วมเรื่อง 'สิทธิดิจิทัลในประเทศไทย' สำหรับ UPR ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย และ 'เอกสารข้อเท็จจริง UPR Advocacy Factsheet ว่าด้วยสิทธิดิจิทัลในประเทศไทย' เพื่อแสดงให้เห็นถึงการละเมิดกฎหมายของประเทศไทยที่มุ่งจำกัดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนทางออนไลน์


➡️ เราเปิดตัวแคมเปญเพื่อ #StopDigitalDictatorship ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อต่อสู้กับเผด็จการดิจิทัลในภูมิภาค


➡️ เราได้จัดทำ ‘UPR Advocacy Factsheet on Civic Space in Thailand’ เพื่อต่อสู้กับการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐบาลและเรียกร้องความยุติธรรมในระดับสากล


➡️ เราได้จัดทำเอกสารร่วมเกี่ยวกับสิทธิของ SOGIESC และอีกฉบับหนึ่งเกี่ยวกับเยาวชนและเด็ก LGBTIQ+ สำหรับ UPR ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย เพื่อรายงานการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล LGBTIQ+ ในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังเตรียมเอกสารข้อเท็จจริงของ UPR Advocacy เกี่ยวกับสถานการณ์ของบุคคล LGBTIQ+


➡️ เราต่อต้านการครอบงำองค์กรและสนับสนุนชุมชนในการต่อสู้กับการทุจริตและการละเมิดที่สร้างผลกำไรให้กับผู้คนและโลกใบนี้:


➡️ #JusticeForPhichit: เราให้การสนับสนุนชาวบ้านในจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการดำเนินงานของบริษัทเหมืองทองคำ ผู้ที่ต่อต้านบริษัทต้องเผชิญกับการคุกคามด้วยกฎหมายและโดนฟ้องปิดปาก ส่วนหนึ่งของงานของเราในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับพวกเขา เราจะต่อสู้เพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของพวกเขาได้รับการเคารพและปกป้อง


➡️ #SaveSabWaiVillagers: เราเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชาวบ้านซับหวายที่ตกเป็นเหยื่อของการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่บิดเบี้ยวของประเทศไทย ซึ่งทำให้ชาวบ้านที่พิทักษ์ป่ากลายเป็นอาชญากร!


➡️ เราก่อตั้ง #WeAreJustTransition Movement เพื่อให้การเรียกร้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และส่งเสียงเรื่องความกังวลของเราร่วมกับชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายฟอกเขียว และการดำเนินคดีภายใต้นโยบายการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่บิดเบี้ยวของประเทศไทย








Comments


bottom of page