การประชุม #COP27 คืออะไร และทำไมถึงสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย?
#ClimateJustice #ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ 🌏 ทุกคนอาจกำลังสงสัยว่าการประชุม COP27 ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงนี้ จริง ๆ แล้วมันเป็นการประชุมในเรื่องอะไร และทำไมมันถึงยังสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอีกด้วย?
ตัวแทนฝั่งภาครัฐ เหล่านักการเมือง นักวิทยาศาสตร์จากหลากหลายแขนง นักเคลื่อนไหวสิทธิ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภาคธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลกซึ่งรวมถึงกลุ่มบริษัทผู้ค้าน้ำมันขนาดใหญ่ของโลก องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอื่น ๆ ได้เดินทางมายังเมืองติดทะเลอย่างเมืองชาร์มเอลซีค ประเทศอียิปต์เพื่อมาเข้าร่วมงานประชุม COP27: การประชุมภาคี (Conference of Parties) ครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นการประชุมที่รัฐภาคีต่าง ๆ ที่ได้ลงนามภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าการประชุมระดับสูงนี้จะนำทางไปสู่การพัฒนาดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในอนาคต แต่ในขณะเดียวกันกลับกลายเป็นเวทีสำหรับการฟอกเขียว (Greenwashing) การรับเรื่องประเด็นปัญหาแค่ในนาม และการจำกัดพื้นที่ของภาคประชาสังคม
อย่างไรก็ตาม ในการหารือกันเรื่องสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสิทธิมนุษยชนของทั้งชุมชนในประเทศไทยอย่างไร?
➡️ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเขตร้อนและอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในเร็ววัน ชุมชนในประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องมีประชาคมระหว่างประเทศในที่ประชุม COP27 เพื่อดำเนินการอย่างจริงจังและกระตือรือร้นเพื่อจัดการต่อภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ (Climate Emergency)ในขณะเดียวกัน สิทธิมนุษยชนต้องถูกนำมาเป็นศูนย์กลางของขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นการยืนยันว่าชุมชนท้องถิ่นในไทยจะไม่ได้รับผลกระทบทางลบในการดำเนินกระบวนการนี้ ซึ่งนี่กลับเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยมักไม่รับฟังและยังส่งเสริมให้อนุญาตให้มีการฟอกเขียวโดยภาครัฐและ วิธีแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างไม่ถูกต้อง!
➡️ในการประชุม COP26 ของปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศเป้าหมายที่ผ่านการแก้ไขใหม่ในเรื่องความเป็นกลางของคาร์บอน (2050) และ net-zero (2065) และได้เน้นย้ำว่าประเทศไทยจะต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลได้จริง ในปีนี้ คณะผู้แทนรัฐบาลไทยยังคงมุ่งหน้าแสวงหาแหล่งทุนและการสนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของพวกเขา ในการประชุม COP27 เราจะต้องได้ทราบถึงแหล่งที่มาของทุนที่จ่ายให้แก่รัฐบาลไทยซึ่งเป็นการสนับสนุนทางอ้อมในการบังคับขับไล่ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนที่อยู่อาศัยในป่า: ชุมชนผู้พิทักษ์ป่า อีกทั้งยังทำเสมือนกับพวกเขาเป็นอาชญากรและทำให้ชาวบ้านมีคดีติดตัว!
➡️ ภาคประชาสังคมซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาจากทางฝั่งทางใต้ กำลังมุ่งหน้าผลักดันให้เกิดแหล่งทุนสำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแห่งใหม่ต่อเรื่องการสูญเสียและความเสียหาย: ผลกระทบด้านลบของน้ำท่วม พายุไซโคลน การกลายเป็นทะเลทราย ฯลฯ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แหล่งทุนดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนชุมชนในประเทศไทยที่กำลังเผชิญปัญหาสภาพอากาศที่รุนแรง ที่พวกเขากลับเป็นกลุ่มที่ส่งผลให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศที่น้อยที่สุด!
#WeAreManushyan ♾️ Equal Human Beings
มูลนิธิมานุษยะจะขอยืนหยัดและต่อสู้เพื่อความยุติธรรมด้านสภาพอากาศอยู่เสมอ และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อีกทั้งในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศใดๆ ก็ตามเรายึดมั่นในสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก ✊
👉 ติดตามพวกเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของเราในเรื่องความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านที่ยุติธรรมในประเทศไทย!
👉 กดไลค์ & แชร์ โพสต์นี้ เพื่อเผยแพร่ความตระหนักรู้ว่ารัฐบาลไทยกำลังดำเนินการฟอกเขียนอยู่ ณ ที่ประชุม COP27!
ในระหว่างที่คุณอยู่ที่นี่ ...
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบและการดำเนินงานของมูลนิธิมานุษยะกับ #ความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและลาวได้ที่
NEWS RELEASE: ภาครัฐที่มีส่วนรับผิดชอบและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะต้องรับประกันความปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อนน้ำเทิน 1 ในประเทศลาว
#ClimateJustice #JustTransition: เหตุใดเราจึงต้องการการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมเคารพต่อแนวคิดเฟมินิสต์แบบที่ครอบคลุมต่ออัตลักษณ์ที่ทับซ้อน
ความคืบหน้าของข้อร้องเรียนต่อ UN ในเรื่องความยุติธรรมแก่ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุการถล่มลงของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในจังหวัดอัตตะปือ ประเทศลาว
การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทยทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน!
เอกสารข้อมูลการตรวสอบสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (UPR) ของเราเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทยด้วยกฎหมายการอนุรักษ์ป่าที่ไร้ประสิทธิภาพ
การส่งการตรวจสอบสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (UPR) ของเราเกี่ยวกับสิทธิในเรื่องที่ดิน ทำกิน กฎหมายเรื่องอนุรักษ์ป่าไม้ และนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แหล่งอ้างอิง:
Pattaya Mail, ประเทศไทยพร้อมเข้าร่วมการประชุม COP 27 ในระหว่างวันที่ 3-18 พฤศจิกายนที่ประเทศอียิปต์ (25 ตุลาคม 2022) ดูได้ที่: https://www.pattayamail.com/thailandnews/thailand-ready-to-attend-cop-27-during-november-3-18-in-egypt-414151
กระทรวงการต่างประเทศ, ราชอาณาจักรไทย, นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำโลก ระหว่างการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐภาคี ครั้งที่ 26 (UNFCCC COP26) ในเมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร, (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565) ดูได้ที่ : https://www.mfa.go.th/en/content/cop26-glasgow?page=5d5bd3cb15e39c306002a9ac&menu=5d5bd3cb15e39c306002a9ad
Comments