top of page

ขอเชิญร่วมฟัง! #WeAreJustTransition: “จะไม่มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมหากปราศจากการมีส่วนร่วมของเรา”

Writer's picture: Manushya FoundationManushya Foundation

“จะไม่มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมหากปราศจากการมีส่วนร่วมของเรา”

“ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า” ในการประชุม COP27 และ APEC2022


มูลนิธิมานุษยะ, Thailand Climate Justice for All, และมูลนิธิภาคใต้สีเขียว , สมาชิกของ แนวร่วมองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย, เครือข่ายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย, และกลุ่มคนรากหญ้าที่เป็นตัวแทนของชนเผ่าพื้นเมือง, ชุมชนที่พึ่งพาป่าไม้, นักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ, และอื่นๆ อีกมากมาย, ได้รวมตัวกันเป็น ‘ภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition Movement)’ ขอเชิญทุกท่านร่วมงานแถลงข่าวอย่างเป็นกันเองในวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ตั้งแต่เวลา 9.30 น. ณ โรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพฯ เป็นต้นไป (เริ่มลงทะเบียนเวลา 09.00 น. ตามที่อยู่ด้านล่าง), เพื่อนำเสนอ “ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า” ว่าด้วยการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) และการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค APEC2022


ทำไมเราถึงจัดงานแถลงข่าวนี้ขึ้น?


การประชุมรัฐภาคีภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) ได้แสดงให้เห็นอีกครั้งว่ารัฐบาลไทยมีความเชี่ยวชาญเพียงใดในการยึดคำมั่นสัญญาเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์แทนการพุ่งเป้าไปที่การปฏิรูปนโยบายด้านพลังงานเพื่อเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลกลับมุ่งเน้นในการให้ความสำคัญกับการกักเก็บคาร์บอนผ่านกฎหมายที่ควบคุมการอนุรักษ์และการปลูกป่าที่ไม่เป็นธรรม แต่ในพื้นที่จริงชุมชนที่พึ่งพิงพาป่าไม้กลับถูกฟ้องคดีอาญา ถูกขับไล่ และถูกทำลายวิถีชีวิต ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นยิ่งที่ประเทศไทยต้องเพิ่มความพยายามในการปกป้องชุมชนจากผลกระทบร้ายแรงทั้งภัยพิบัติจากน้ำท่วมและเหตุการณ์รุนแรงอื่น ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้กลุ่มชุนชนรากหญ้าและกลุ่มภาคประชาสังคมส่วนหนึ่งของประเทศไทยได้มีการจัดตั้ง ‘ภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition Movement)’ ที่มีเป้าหมายเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันต่อการส่งเสียงสะท้อนต่อประเด็นความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศในวันสุดท้ายของการประชุม COP27 โดยการเคลื่อนไหวนี้จะนำเสนอ “ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า” ต่อที่ประชุม COP27 และ APEC2022 รวมถึงมีการแถลงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและภาคธุรกิจด้านพลังงานเพื่อย้ำเตือนถึงแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและจะต้องหยุดการดำเนินการที่ฟอกเขียว นอกจากนี้การเปิดตัวของภาคีเครือข่ายและปฏิญญาภาคประชาชนยังเกิดขึ้นในช่วงโค้งสุดท้ายของการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยรัฐบาลไทยมีแผนที่จะส่งเสริมแบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว ที่เข้าข่ายเป็นโครงการฟอกเขียวเพื่อสนับสนุนความชอบธรรมของบริษัทด้านพลังงานแต่ต้องแลกมาด้วยวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น


ความคาดหวังของพวกเรา?

ในพันธกิจเพื่อการสร้างเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เข้มแข็งและยึดโยงต่อวิถีชีวิตกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนที่พึ่งพาอาศัยป่าไม้ และนักปกป้องสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พวกเราขอประณามการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทย ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นธรรม หากประเทศไทยจะดำเนินการจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ จะต้องเป็นการดำเนินโดยยึดให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางต่อการรับมือและตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ จะต้องยึดหลักการคำนึงคนและโลกอยู่เหนือผลกำไร และนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ที่ครอบคลุม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเคารพต่อหลักการสตรีนิยม


วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ:

  • นาดา ไชยจิตต์, ที่ปรึกษางานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน มูลนิธิมานุษยะจะเป็นผู้ดำเนินรายการและวางกรอบประเด็นในการขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยวิทยากรคนสำคัญของงานจะประกอบไปด้วย

    • กฤษฎา บุญชัย, ผู้ประสานงานของ Thai Climate Justice for All,

    • ไครียะห์ ระหมันยะ “ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ” เยาวชนนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม, #saveจะนะ

    • นิตยา ม่วงกลาง, นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง ผู้นำชุมชนเครือข่ายสายทองรักษ์ป่า, #Saveชาวบ้านซับหวาย

    • อัญชลี อิสมันยี, ผู้นำสมาชิกภาคี #Saveบางกลอย และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน

    • นารี วงศาชล, นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงชนเผ่าพื้นเมืองตัวแทนกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้และเครือข่ายชาวเล อันดามัน

    • คะติมะ หลีจ๊ะ, นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงชนเผ่าพื้นเมือง ตัวแทนชนเผ่าลีซูเหนือ และเครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย (IWNT), ซึ่งรวมถึงการต่อต้านการทำเหมืองในอมก๋อย #Saveอมก๋อย

    • ดิเรก เหมนคร, ผู้นำเครือข่ายปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ, Green World Network, #SaveThepa

  • ในระหว่างการดำเนินรายการของ ‘ภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม’ จะมีการนำเสนอ “ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า” ในการประชุม COP27 โดยเสนอข้อเสนอแนะประการสำคัญต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจหลัก รัฐบาลไทย และผู้มีส่วนได้เสียหลักจากกลุ่มต่างๆ ๆ ต่อการประชุม COP27 และ APEC2022


กำหนดการและสถานที่

กำหนดการ: ลงทะเบียน 9:00 น., 9:30 น. - 11:30 น., 18 พฤศจิกายน 2565

สถานที่: ชั้น 3 ห้องคมชัย โรงแรมอลิซาเบธ (Elizabeth Hotel), 169/51 ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400


** จะมีการแจกเครื่องดื่ม อาหารว่าง และอาหารกลางวัน


➡️ ลงชื่อเข้าร่วมงานแถลงข่าวได้บน FB page event ของเรา: https://www.facebook.com/events/496404132540290


➡️ สามารถรับชมถ่ายทอดสดงานแถลงข่าวได้บน Instagram หรือ Facebook.


➡️ หรือรับชมผ่าน Zoom สำหรับผู้ต้องการฟังแบบแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: https://us06web.zoom.us/j/89897815396


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ภาษาไทย: นาดา ไชยจิตต์, ที่ปรึกษาด้านการณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน มูลนิธิมานุษยะ

ประณัยยา ปัณฑรานุวงศ์, ผู้ช่วยประสานงานโครงการ Thai Climate Justice for All

ภาษาอังกฤษ: คลาร่า ไซเฟอร์, ผู้ช่วยด้านความรับผิดของภาคธุรกิจและความเป็นธรรมด้านสภาพปัญหาสภาพภูมิอากาศ มูลนิธิมานุษยะ (Karla Pfeifer, Corporate Accountability & Climate Justice Assistant, Manushya Foundation)


Comments


bottom of page