ทำไมเราต้องเรียกร้องให้ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบ?
#PeopleOverProfit #CorporateAccountability ✊ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมีมากมายทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่ผู้คนก็ไม่รู้ว่า “ความสำเร็จ” นั้นแลกมาด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ! #PlanetOverProfit
น้ำที่ปนเปื้อน ร่างกายที่เจ็บป่วย และการฟ้องร้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้กล้าหาญ นั่นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างของปัญหาที่สาหัสและเกิดขึ้นจริงโดยการกระทำของบรรดาบริษัทต่อชุมชนท้องถิ่น และในขณะที่ผู้คนต้องทนทุกข์รมาณ บรรดานายทุนกลับร่ำรวยขึ้น และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้น คือ พวกเขาไม่ยอมรับผิดชอบผลที่เกิดจากการกระทำของพวกเขา!
นั่นคือสาเหตุว่าทำไมพวกเราต้องการ #การรับผิดชอบของภาคธุรกิจ อย่างแท้จริง — เราอยากให้ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อทุก ๆ การกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชนของตน รวมถึงผลกระทบที่สร้างขึ้นต่อชนกลุ่มน้อยและกลุ่มคนชายขอบ มูลนิธิมานุษยะสนับสนุนและเป็นพันธมิตรกับชุมชนท้องถิ่นที่กำลังประสบการกลั่นแกล้งรังแกจากภาคธุรกิจในการต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขาและรักษาสิ่งแวดล้อม
แล้วพวกเราทำงานกันอย่างไร? ยกตัวอย่างคือ มูลนิธิมานุษยะทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในภาคกลางของประเทศไทย เพื่อเรียกร้อง #JusticeForPhichit หลังจากเหมืองทองได้ทำลายสุขภาพของผู้คน วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เรายังสนับสนุนผู้รอดชีวิตจากกรณีเขื่อนถล่มในแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว และเราพึ่งจะได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และได้สร้างบรรทัดฐานในทางกฎหมายของประเทศไทย เมื่อนาดา ไชยจิตต์ ที่ปรึกษางานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนของมูลนิธิมานุษยะ ในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องคดีปิดปาก โดยนักธุรกิจที่มีอิทธิพลมากในประเทศไทย! ศาลอาญาได้ยกฟ้องคดีในฐานะที่คดีดังกล่าวเป็นไปเพื่อการปกป้องสิทธิมนุษยชน และเราหวังว่าบรรทัดฐานในทางกฎหมายใหม่นี้จะนำมาซึ่งความเป็นธรรมแก่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกกลั่นแกล้งในทางกฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมจากการพูดความจริงเพื่อต่อต้านการพ้นผิดลอยนวลของภาคธุรกิจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน!
#WeAreManushyan ♾️ มนุษย์เท่าเทียมกัน
ขอเชิญชวนทุกคนเข้าร่วมกับพวกเราในการต่อสู้กับการกลั่นแกล้งรังแกจากภาคธุรกิจ เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเหล่านั้นรับผิดชอบต่อการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชนของตน และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้คนและโลกมาก่อนผลกำไรอย่างแท้จริง!
➡️ติดตามโซเชียลมีเดียของเรา เพื่อไม่พลาดข้อมูลใหม่ ๆ
➡️แชร์โพสต์นี้เพื่อเป็นกระบอกเสียงร่วมกัน
หากคุณเลื่อนมาถึงตรงนี้…
เรียนรู้เกี่ยวกับการต่อสู้ของพวกเราในการเรียกร้อง #การรับผิดชอบของภาคธุรกิจ อย่างแท้จริง และความสำเร็จในการต่อสู้:
#JusticeForPhichit: แคมเปญสนับสนุนของมูลนิธิมานุษยะในกรณีชุมชนในจังหวัดพิจิต
#UNForumBHR: มูลนิธิมานุษยะ และบรรดาผู้ให้การสนับสนุนสิทธิมนุษยชนจากทั่วทุกมุมโลกได้เรียกร้องบรรดารัฐต่าง ๆ ในการ #หยุดNAPping ที่ #UNForumBHR 2022!, 23 ธันวาคม 2565
#UNForumBHR: เอมิลี่ ประดิจิต ได้ประนามการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจ และเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปากที่ #UNForumBHR 2022, 22 ธันวาคม 2565
#ชัยชนะ ⚖️🏳️🌈 วันนี้ ศาลตัดสินให้ชัยชนะอยู่ข้างนักปกป้องสิทธิ! #StopSLAPP #SaveNada, 21 ธันวาคม 2565
#ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน #หยุดการฟ้องคดีปิดปาก: นาดาเรียกร้องให้มีมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในงานประชุม #UNForumBHR 2022!, 15 ธันวาคม 2565
#UNForumBHR: มานุษยะต่อต้านการจับกุมและการละเมิดของภาคธุรกิจที่ #UNForumBHR!, 9 ธันวาคม 2565
#UNForumBHR: มูลนิธิมานุษยะกับบทบาทใน UN Forum ครั้งที่ 11thในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่เจนีวา!, 29 พฤศจิกายน 2565
#SaveNada: ทำไมเราต้องเรียกร้องความเป็นธรรมให้ นาดา ไชยจิตต์ ต่อองค์การสหประชาชาติ?, 11 ตุลาคม 2565
ประเทศไทย: แผน NAP-BHR คืออะไร ทำไมเราถึงไม่ต้องการแผนนี้, 10 ตุลาคม 2565
#SaveNada: คำร้องต่อสหประชาชาติให้ดำเนินการด่วนต่อการคุกคามทางศาลของนาดา ไชยจิตต์ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวไทย, 7 ตุลาคม 2565
VIDEO: พวกเราต้องการ #สนธิสัญญาผูกพัน ตามกฎหมาย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบรรดาบริษัทต่าง ๆ จะ ทำการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะภาคบังคับในประเด็นสิทธิมนุษยชน!, 5 ตุลาคม 2565
#หยุดการฟ้องคดีปิดปาก: นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรีร่วมเดินหน้าต่อสู้คดีฟ้องปิดปากถึงที่สุด!, 29 กันยายน 2565
#AsiaWakeUp: #RBHRF2022 ได้จบลงไปแล้ว และความต้องการของเรานั้นชัดเจน: มันถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้อง #StopNAP-ping!, 28 กันยายน 2565
SLAPPed: การต่อสู้ของชาวบ้านพิจิตรต่อการถูกฟ้องปิดปาก คุกคาม และข่มขู่จากบริษัทเหมืองแร่!, 8 กันยายน 2565
ความตกลงการค้าเสรี: ความโลภของภาคธุรกิจทำให้สิทธิของการเข้าถึงน้ำสะอาดของชาวบ้านในจ.พิจิตห่างไกลจากความเป็นจริง, 29 เมษายน 2565
คำร้องติดตามผลต่อสหประชาชาติ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมแก่ผู้รอดชีวิตในกรณีการพังทลายของเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย ในแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว, 28 กุมภาพันธ์ 2565
เอกสารเสนอร่วมต่อสหประชาชาติใน Universal Periodic Review (UPR): สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน กฎหมายอนุรักษ์ป่าไม้ และนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, 25 มีนาคม 2564
อ่านเอกสาร UPR ของเรา ผู้คนและโลกต้องมาก่อนผลกำไร, 13 กันยายน 2564
อ่านเอกสาร UPR ของเรา ด้าน ผลกระทบด้านลบของข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค, 29 กันยายน 2564
อ้างอิง:
Manushya Foundation, Free trade agreements: Corporate greed makes the right to water of Phichit villagers distant reality (29 April 2022), available at: https://www.manushyafoundation.org/post/free-trade-agreements-corporate-greed-makes-the-right-to-water-of-phichit-villagers-distant-reality
#JusticeForPhichit #SavePremsinee #PeopleOverProfit #PlanetOverProfit #ClimateJustice #JustTransition #WeAreJustTransition #CorporateAccountability #Saveชาวบ้านซับหวาย #Saveนิตยา #Saveสมพิตร #WhatsHappeningInThailand #LandRightsNow #WHRDs #HumanRights #OurPlanetOurHealth #StopCorporateCapture #LetTheEarthBreathe #climateactionnow #ClimateChange #HumanRightsDefenders #EndCorporateCapture #AsiaWakeUp #StopNAPping #StopSLAPP
Comments