ทุกข้อควรรู้เกี่ยวกับ ข้อเรียกร้องหลักของพวกเราภายใต้ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม
ในขณะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศในระดับต้นของโลกที่เสี่ยงต่อผลกระทบจากวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ สิ่งที่รัฐบาลและภาคเอกชนกลับเลือกที่ดำเนินการในการปกป้องโลกของเรานั่นคือ มุ่งเน้นในการแสวงหาผลกำไรทางการเงินและสร้างมลพิษ! ประชาชนต่างอดทนกันมามากเกิดพอแล้วสำหรับปัญหาที่เกิดจากนโยบายฟอกเขียว การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่หลอกลวง การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และผลกระทบร้ายแรงของวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศที่ย่ำแย่ลงในทุก ๆ วัน เพื่อเป็นการเน้นย้ำและสะท้อนข้อกังวลของพวกเรา พวกเราจึงได้ร่วมกันจัดทำ ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า พวกเราต่างรวมตัวกันขึ้นมาใหม่เป็นภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม และนี่คือข้อเรียกร้องของพวกเรา!
#เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม
"พวกเราประชาชนในประเทศไทย ชุมชนท้องถิ่น ชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งผู้หญิงพื้นเมือง ชุมชนที่พึ่งพิงป่า เกษตรกร นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ เยาวชนตัวแทนประชาชนชาวมุสลิมในประเทศไทย ผู้มีความหลากหลายทางเพศ แรงงานข้ามชาติและพนักงานบริการ ต่างรวมตัวกันเป็นภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม"
ภาคีองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมที่หลากหลาย ได้รวมตัวกันครั้งใหม่ในนาม #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ที่ได้เริ่มตั้งขึ้นในระหว่างการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างแนวร่วมการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม Just Transition ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2565 โดยมูลนิธิมานุษยะ มูลนิธิ Thai Climate Justice For All และมูลนิธิภาคใต้สีเขียว เครือข่ายของเราประกอบไปด้วย ชุมชนท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายการฟอกเขียว และถูกดำเนินคดีอาญา ภายใต้การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่จอมปลอมของประเทศไทย ชุมชนผู้ได้รับผละกระทบและการทำให้ชุมชนที่พึ่งพิงป่าไม้ตกเป็นเหยื่อและถูกมองว่าเป็นอาชญากรโดยรัฐบาล พวกเขาต้องต่อสู้กับโครงการพัฒนาที่โหดร้าย หรือแม้กระทั่งเผชิญกับการคุกคาม ข่มขู่ และความรุนแรงที่กระทบต่อการดำเนินงานในด้านสิทธิมนุษยชนที่ชอบด้วยกฎหมาย ขบวนการเคลื่อนไหวของพวกเราได้นำเสนอปฏิญญาประชาชนในระหว่างงานแถลงข่าว 'จะไม่มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมหากปราศจากการมีส่วนร่วมของเรา' เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร
รับชมงานแถลงข่าว 'จะไม่มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมหากปราศจากการมีส่วนร่วมของเรา'
ทำไมเราถึงต้องจัดทำปฏิญญาภาคประชาชนฉบับนี้ขึ้นมา?
"ในขณะที่วิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศเลวร้ายลง เรายังคงไม่เห็นการดำเนินงานที่สร้างสรรค์เพื่อจัดทำนโยบายการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก รวมทั้งจากรัฐบาลไทย ตามรายงานล่าสุดของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEP) ในปี 2565 เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรัฐภาคีต่อความตกลงปารีส ยังห่างไกลจากการบรรลุเป้าหมายที่จะลดภาวะโลกร้อนให้อยู่ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส"
รัฐบาล ภาคเอกชน และเวทีการประชุมระหว่างประเทศ ไม่ได้ดำเนินการมากพอเพื่อยับยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อผู้คนในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ กลับเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แทนที่รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศโดยนำชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขาเป็นที่ตั้ง รัฐบาลกลับให้ความสำคัญต่อผลกำไรเหนือผลประโยชน์ของชุมชน ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนต่าง ๆ สามารถดำเนินกิจการที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปได้อย่างไม่จำกัด
"เราตระหนักว่า อุปสรรคสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ แม่แบบการพัฒนาระดับประเทศและโลกที่ยังคง มุ่งตอบสนองผลประโยชน์ของผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ รวมทั้งอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล อุตสาหกรรมหนัก และบรรษัทการเกษตร จากกระบวนการที่บรรษัทสร้างอิทธิพลเหนือกลไกของรัฐ ส่งผลให้หน่วยงานธุรกิจยังคงมีอำนาจที่ไม่เหมาะสม ครอบงำกระบวนการตัดสินใจในระดับประเทศและโลก เพื่อแสวงหาผลประโยชน์เพิ่มเติมและสร้างผลกำไรทางการเงินสูงสุด พวกเขายังคงเห็นผลกำไรสำคัญเหนือประชาชนและโลก"
นโยบายการฟอกเขียวไม่ใช่การรับมือต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถูกต้อง!
รัฐบาลไทยพยายามอย่างมากที่จะรักษาความน่าเชื่อถือของพวกเขาต่อเวทีในระดับสากลและยังได้แสดงให้พวกเขาเห็นว่า รัฐบาลไทยพยายามมากเพียงใดในการยับยั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่การดำเนินงานที่สร้างสรรค์เพื่อจัดทำนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐบาลกลับไม่เพียงพอที่จะป้องกัน #วิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ อันเลวร้ายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่หลอกลวงยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชนชนบทอีกด้วยโดยเฉพาะกรณีของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย #Saveบางกลอย และชาวบ้านซับหวาย #Saveซับหวาย ที่ถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายป่าสงวนของประเทศไทย ทุกคนทราบหรือไม่ว่า แม่แบบเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว(BCG) ในประเทศไทย ได้กลายเป็นเพียงยุทธวิธีเพื่อฟอกเขียวที่ดำเนินการร่วมกันโดยภาครัฐและภาคเอกชน
"คำว่า “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” และ“การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน'' เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อการฟอกเขียวเท่านั้น ซ่อนข้อเท็จจริงที่ว่า บรรษัทควรดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อลดกิจกรรมที่ปล่อยคาร์บอน และดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอน บริษัทเหล่านี้หันไปใช้การปลูกป่าและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้จะไม่มีความชัดเจนว่าวิธีการเหล่านี้จะช่วยประกันให้เกิดการลดคาร์บอนได้"
ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมและการรวมตัวกันของภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ได้จัดขึ้นพร้อมกับ 2 เวทีการประชุมระดับสากล: เวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 (COP27) และ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค 2022) ซึ่งบทบาทของทั้งสองเวทีนี้กลับไร้ซึ่งประสิทธิภาพใด ๆ เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่อส่งเสริมนโยบายการฟอกเขียว อีกทั้งรัฐบาลยังล้มเหลวในการยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลครั้งแล้วครั้งเล่าอีกด้วย
"เราได้ติดตามการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) แต่รู้สึกสิ้นหวังกับกลุ่มคนที่สรรเสริญกันเอง ให้คำสัญญาที่ใหญ่โต แต่แทบไม่มีผลใจเชิงปฏิบัติ"
ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องหยุดการดำเนินนโยบายการฟอกเขียวและอำนาจครอบงำของภาคธุรกิจต่อผลกระทบจากวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ ภาคีของพวกเราได้ลงมือดำเนินการด้วยกันดังนี้: ชุมชนระดับรากหญ้าในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้เน้นย้ำถึงข้อกังวลต่อวิธีการรับมือและแนวทางการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย และความรับผิดชอบของพวกเขาภายใต้สนธิสัญญาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเช่น ความตกลงปารีส ในขณะเดียวกัน พวกเราได้เน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องของพวกเราต่อเวทีการประชุมระดับสากล ที่ประชุม COP27 และ APEC2022 รัฐบาลไทย และ หน่วยงานภาคธุรกิจ ตัวการสำคัญที่ส่งผลให้วิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศเลวร้ายลง
นี่คือข้อเรียกร้องของพวกเรา
ข้อเรียกร้องต่อการประชุม COP27:
ประกาศให้วิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศเป็นภัยฉุกเฉิน
ประเทศพัฒนาแล้วและบรรษัทข้ามชาติต้องสนับสนุนการเยียวยาด้านสภาพภูมิอากาศโดยทันที
กำหนดนโยบาย มาตรการ และกลไกสนับสนุนทุนให้กับความสูญเสียและความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นองค์รวม
ทบทวนกลไกคาร์บอนออฟเซ็ต, ความเป็นกลางทางคาร์บอน, ตลาดคาร์บอน และนโยบายคาร์บอนเครดิต และจะต้องประกันว่ากลไกเหล่านี้จะไม่สนับสนุนให้เกิดการฟอกเขียวของประเทศพัฒนาแล้ว และกลุ่มบริษัท
ให้นำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเข้ามาใช้ในการจัดทำข้อมติ
ข้อเรียกร้องต่อการประชุม APEC2022:
ประณามแม่แบบเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว(BCG)
ต้องออกแบบและดำเนินงานตามกลไกเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและต่อการแก้ไขปัญหากวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริง
ประกันว่า APEC จะเป็นพื้นที่เปิดและมีประชาธิปไตย ให้แก่ภาคประชาสังคม
ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย:
ประกันว่านโยบายและกรอบกฎหมายระดับประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย
ประกันให้มีการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นธรรมอย่างรวดเร็ว โดยการเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด
เปลี่ยนผ่านจากเกษตรเชิงเดี่ยวที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบรรษัท ไปเป็นเกษตรเชิงนิเวศภายในปี 2573
ยุติทุกการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาด ยกเลิกข้อบทใดที่เอาผิดทางอาญากับชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนที่พึ่งพาป่า และจะต้องรับรองและส่งเสริมบทบาทของพวกเขาในฐานะ ‘ผู้พิทักษ์ป่า’
รับรองความเป็นชนพื้นเมือง และประกันให้พวกเขาสามารถใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่
ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยในการรับรองว่าจะต้องดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยสอดคล้องต่อพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย ได้แก่:
จะต้องให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิมนุษยชนทุกฉบับในไทย;
สอดคล้องตามข้อเสนอแนะทั้ง 5 ประการต่อประเทศไทยในระหว่างกระบวนการทบทวนสิทธิมนุษยชนตามวาระรอบสาม (UPR) ของประเทศไทย ในส่วนของปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอแนะจากฟิจิ, ไซปรัส, มัลดีฟส์ และคอสตาริกา
ปกป้องและคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง ที่ถูกเรียกร้องโดยคณะกรรมาธิการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรุปแบบของปี 2564
ข้อเรียกร้องของพวกเราต่อภาคเอกชน:
เคารพต่อหลักการชี้แนะในเรื่อง สิทธิมนุษยชนสําหรับธุรกิจ (UNGPs), แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของไทย (NAP-BHR), และต้องกำหนดกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกลไกรับข้อร้องเรียนสำหรับคนทั่วไปที่ต้องการแสวงหาการเยียวยาจากผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของธุรกิจ
ลดและหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
#WeAreManushyan - Equal Human Beings
👉 ร่วมติดตามความพยายามของพวกเราในการเรียกร้องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีส่วนร่วมของชุมชุน ได้ตามช่องทางดังนี้!
อ่านปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า ฉบับเต็มได้ ที่นี่
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยติดตามช่องทางของพวกเราและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์และการสนับสนุนต่าง ๆ ของพวกเรา!
ติดตามช่องทางโซเชียลมีเดียของพวกเราเพื่อติดตามข่าวล่าสุดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของภาคเอกชนและความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ!
ในระหว่างที่คุณยังอยู่ที่นี่...
อ่านผลงานและข้อเรียกร้องของพวกเราเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม ได้ที่:
ทุกข้อควรรู้เกี่ยวกับ #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม, 28 พฤศจิกายน 2565
ใบแถลงข่าว: #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม: ถึงเวลาของการเปลี่ยนผ่านที่เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม พร้อมกับการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานที่มีประชาชนเป็นแกนนำเพื่อยุติการฟอกเขียวและเลิก ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล!, 24 พฤศจิกายน 2565
ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า, 18 พฤศจิกายน 2565
รับชมงานแถลงข่าวในวันที่ 18 พฤศจิกายน เพื่อชมการเปิดตัวปฏิญญาภาคประชาชนของพวกเรา, 18 พฤศจิกายน 2565
บทความ: แผนปฏิบัติการธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทยทำลายความหวังของชุมชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า: ถึงเวลา #หยุดNAPping, 4 พฤศจิกายน 2565
ใบแถลงข่าว: ภาครัฐที่มีส่วนรับผิดชอบและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะต้องรับประกันความปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อนน้ำเทิน 1 ในประเทศลาว, 26 สิงหาคม 2565
#SaveSabWaiVillagers: แคมเปญออนไลน์ของมูลนิธิมานุษยะเพื่อสนับสนุนชาวบ้านซับหวายและช่วยเหลือคดีความต่าง ๆ
ใบแถลงข่าว: ประเทศไทย: ยุติการบังคับขับไล่ชาวบ้านซับหวาย 14 คนออกจากที่ดิน ซึ่งจะทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับความยากจนข้นแค้นและไร้ที่อยู่อาศัย!, สิงหาคม 2565
คำร้องเรียนให้ดำเนินการเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองชาวบ้านซับหวาย 14 คน ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทย, 4 สิงหาคม 2565
ใบแถลงข่าว: รัฐบาลลาวและบริษัทที่เกี่ยวข้องต้องนำมาซึ่งความยุติธรรมให้กับผู้รอดชีวิตจากเหตุเขื่อนอัตตะปือถล่มในพ.ศ. 2561, 26 กรกฎาคม 2565
ความคืบหน้าของข้อร้องเรียนต่อ UN ในเรื่องความยุติธรรมแก่ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุการถล่มลงของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในจังหวัดอัตตะปือ ประเทศลาว, 28 กุมภาพันธ์ 2565
#FightRacism - ประเทศไทยคือสวรรค์ แต่สำหรับ 1% เท่านั้น: รายงานคู่ขนานร่วมจากภาคประชาสังคมเกี่ยวกับการบังคับใช้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ: Reply to the List of Themes CERD/C/THA/Q/4-8 105th CERD session (15 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม), 25 ตุลาคม 2564
บันทึกข้อเท็จจริงของมูลนิธิมานุษยะเพื่อรายงานต่อการเข้ากระทวบการทบทวนสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 3 ของประเทศไทย: วิธีการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาด และกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ล้มเหลวของประเทศไทย, 13 กันยายน 2564
รายงานร่วมต่อการทบทวนด้านสิทธิมนุษยชน: สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ 25, มีนาคม 2564
ใบแถลงข่าว: ประเทศไทย: ยุติการทำให้นักปกป้องสิทธิเกี่ยวกับที่ดินภายในอุทยานแห่งชาติสายทองเป็นอาชญากรอย่างไม่เป็นธรรม, 19 มิถุนายน 2562
การยื่นคำร้องขอให้มีการดำเนินการเร่งด่วนต่อ 7 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ: #SaveSabWaiVillagers ช่วยเหลือชาวบ้านซับหวายจากการถูกจำคุก! ชาวบ้าน 14 คนถูกทำให้เป็นอาชญากรอย่างไม่เป็นธรรมผ่านนโยบายทวงคืนผืนป่าของไทย, 23 มิถุนายน 2562
แถลงการณ์ร่วม: องค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติขอกล่าวหาต่อสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดินในชุมชนซับหวาย, 24 มิถุนายน 2562
ใบแถลงข่าว: ประเทศไทย: ประกันสิทธิและยืนยันว่าจะมอบความยุติธรรมและการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพแก่นักปกป้องสิทธิในที่ดินที่ถูกทำให้เป็นอาชญากรโดยไม่เป็นธรรมในคดีอุทยานแห่งชาติไทรทอง, 8 กรกฎาคม 2562
การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในประเทศไทย: รายงานร่วมจากภาคประชาสังคม: รายงานประเด็นที่ต้องได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (CERD) เพื่อพิจารณาและทบทวนรายงานตั้งแต่ระยะที่สี่ถึงแปดของประเทศไทยในปี 2563 (CERD/C/THA/4- 8)
#OurPlanetOurHealth #SaveBangkloi #SaveOmkoi #environmentaljustice #Thailand #whatshappeninginthailand #SaveSabWaiVillagers #SaveNittaya #LetTheEarthBreathe #climateactionnow🌱🌳🌴 #ClimateEmergency #ClimateChange #Feminist #GreenTransition #COP27 #COP27Egypt #COP #EyesOnCOP #NoMoreEmptyPromises #ClimateAction #ActOnClimate #ClimateJustice #UNClimateConference #IPCC #UNFCCC #LossAndDamage #RenewableEnergy #ClimatePromise #WeNeedAction #APEC2022 #เอเปค2022 #จับตาละเมิดสิทธิAPEC2022 #KeepAnEyeOnAPEC2022 #EconomicJustice #SDG13 #SDGs #Sustainability
Comments