top of page

#บริจาคในวันปีใหม่ เพื่อสนับสนุน #Saveชาวบ้านซับหวาย และ #JusticeForPhichit

Writer's picture: Manushya FoundationManushya Foundation







#บริจาคในวันปีใหม่

ปี 2565 ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่รัฐบาลไทยยังคงดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อขับไล่ผู้คนในชุมชน!


🎄 ช่วงเทศกาล #คริสต์มาส ยังไม่สิ้นสุดลง! พวกเรายังต้องการความช่วยเหลือจากคุณผ่านการบริจาค และสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม!


#Saveชาวบ้านซับหวาย: คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ไม่เป็นธรรมของศาลไทยทำให้ชาวบ้านซับหวายต้องเผชิญกับความยากจนข้นแค้นถึงขั้นสุด:

🌿 นิตยา ม่วงกลาง สมาชิกคณะกรรมการมูลนิธิมานุษยะและหัวหน้ากลุ่มผู้สนับสนุนชุมชนซับหวายใน #Saveชาวบ้านซับหวาย และชาวบ้านอีก 13 คนในหมู่บ้านซับหวายในอุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งตั้งอยู่ใน จ. ชัยภูมิ ทางภาคอีสานของประเทศไทย ถูกทำให้กลายเป็นผู้กระทำความผิดในทางอาญาอย่างไม่เป็นธรรม โดยถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ตัดไม้ทำลายป่าตามนโยบายฟื้นฟูผืนป่าประเทศไทยในปี 2557

🚨 ผู้เสียหายจากกระบวนการยุติธรรมอันไม่ยุติธรรมของไทย: ถึงแม้ว่าชาวบ้านจะเป็นเกษตรกรรายย่อย แต่พวกเขาถูกพิจารณาว่าเป็นกิจการขนาดใหญ่โดยมิชอบตามคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 ในความเป็นจริงชาวบ้านควรได้รับข้อยกเว้นในฐานะผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินตามคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 เนื่องจากพวกเขาเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีผู้ที่มีฐานะยากจนและชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อนที่พื้นที่ดังกล่าวจะถูกประกาศว่าเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

📛 การถูกทำให้เป็นผู้กระทำความผิดในทางอาญาและความเสี่ยที่จะถูกขับไล่ของชาวบ้านซับหวายแสดงให้เห็นการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศจอมปลอมของรัฐบาลไทย และการใช้นโยบายฟื้นฟูผืนป่า คำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 โดยมิชอบ


❓ แล้วอะไรคือนโยบายฟื้นฟูผืนป่า?

🌳 ภายใต้ ‘การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ’ รัฐบาลไทยได้กำลังเข้าร่วมโครงการในกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ (Forest Carbon Partnership Facility: FCPF) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนโดยธนาคารโลก โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ


เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ รัฐบาลไทยได้ออกนโยบายฟื้นฟูผืนป่าภายใต้คำสั่ง คสช.ที่ 64 และ 66 ใน 2557 แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลเวนคืนที่ดินจากคนยากคนจน ชุมชนที่พึ่งพาป่าไม้ และชนเผ่าพื้นเมือง แทนที่จะเห็นคุณค่าพวกเขาในฐานะ 'ผู้พิทักษ์' ผืนป่า และให้พวกเขาจัดการดูแลที่ดินด้วยตัวของพวกเขาเอง นอกจากกรณีของชาวบ้านซับหวายแล้ว ยังมีคดีอีกกว่า 25,000 คดีที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายฟื้นฟูผืนป่า


✊ สนับสนุนชาวบ้านซับหวาย เพื่อยังคงรักษาไว้ซึ่งหมู่บ้านและการดำเนินวิถีชีวิตในฐานะ 'ผู้พิทักษ์' ผืนป่า:


✨ พวกคุณสามารถ #Saveชาวบ้านซับหวาย ได้โดยตรงกับสมาชิกในชุมชน ผ่านการบริจาค:

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

รหัสสาขา 0454

ชื่อสาขา หนองบัวระเหว

เลขที่บัญชี: 020196885014

ชื่อบัญชี: Nittaya Maungklang, Supaporn Sisuk, Narisra Maungklang


#JusticeForPhichit ยังคงไม่จบ:

📛 เป็นระยะเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่ชาวบ้านใน จ.พิจิต ภาคกลางของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำชาตรี บริหารงานโดยบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในไทยของบริษัทสัญชาติออสเตรเลียอย่าง คิงส์เกต ชาวบ้านได้รับความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองทอง ยกตัวอย่างเช่น การรั่วไหลจากถังจัดเก็บในเหมืองทำให้น้ำใต้ดินปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อน้ำดื่มและการเกษตร จากการที่น้ำปนเปื้อนสารเคมีส่งผลให้เกิดเกิดภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารและค่าครองชีพสูงขึ้น เนื่องจากชาวบ้านต้องซื้อน้ำและผลิตผลทางการเกษตร ทั้งทางฝั่งเหมืองทองหรือรัฐบาลก็ไม่ได้จัดเตรียมการชดเชยช่วยเหลืออย่างเพียงพอเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นชาวบ้านหลายคนประสบปัญหาสุขภาพจิต เช่น วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า และนอนไม่หลับ


⚖️ ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความไม่ยุติธรรม: ด้วยความช่วยเหลือจากมูลนิธิมานุษยะ ชาวบ้านกว่า 300 คนได้ยื่นฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคลต่อเหมืองทองอัครา เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและการเยียวยาชดเชยแก่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหมืองทองอัครา จนกระทั่งถึงขนาดนี้การพิจารณาคดีถูกเลื่อนออกไปเรื่อย ๆ ชาวบ้านยังคงไม่ได้รับการชดเชยทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่เสียหายที่พวกเขาประสบมากว่า 20 ปี


💰 แย่ไปกว่านั้น เหมืองทองชาตรีเคยถูกปิดจากการที่ส่งผลกระทบอันเป็นลบอันเห็นได้ชัดต่อชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 เนื่องด้วยเหตุนั้นเองบริษัทคิงส์เกตจึงเริ่มดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการกับรัฐบาลไทยในฐานการละเมิดความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย(Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA) ในเดือนมกราคม 2565 รัฐบาลไทยได้อนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่ 4 แปลงให้กับบริษัทคิงส์เกตในการดำเนินกิจการในเหมืองแร่ทองคำชาตรีอีก 10 ปี เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ แต่อย่างไรก็ตาม การให้คำชี้ขาดในประเด็นเรื่องของการชดเชยจากรัฐบาลไทยมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2566 แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม บุคคลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในความเป็นจริง ก็คือ ชาวบ้าน!


❗ตอนนี้มันจึงเห็นได้ชัดว่า: รัฐบาลไทยเอาผลประโยชน์มากกว่าประชาชน!


✊ สนับสนุนชาวบ้านในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและได้รับการเยียวยาชดเชยจากความเสียหายที่ได้รับ


✨ พวกคุณสามารถช่วย #JusticeForPhichit ได้โดยตรงกับสมาชิกในชุมชน ผ่านการบริจาค:

ธนาคารกสิกรไทย

เลขที่บัญชี.: 001-8-68961-8

ชื่อบัญชี: Premsinee Sintontammatuch, Sirirat Taitong, Chatchadapon Lorsap


#WeAreManushyan – มนุษย์เท่าเทียมกัน


หากคุณเลื่อนอ่านมาถึงตรงนี้...

คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้เขียนไว้เกี่ยวกับ #ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ ในงานของเรา และการสร้างแรงผลักดันเพื่อนำ #JusticeForPhichit และ #Saveชาวบ้านซับหวาย:


ที่มา:


Комментарии


bottom of page