top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

🚨วิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์ น้ำมันดิบรั่วกลางทะเล อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ?🚨



✊ เกิดอะไรขึ้น ? ✊


ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน เวลาประมาณ 21.00 น. เกิดเหตุน้ำมันดิบ 45,000 ลิตร รั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมันขณะขนถ่ายน้ำมันดิบ บริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล หมายเลข 2 (SBM-2) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งประมาณการรั่วไหลของน้ำมันดิบ อยู่ในระดับที่ 2 (Tier II) ต่อมา บริษัทฯ ก็รายงานว่า ได้เข้าปิดวาล์วท่อน้ำมันที่เกิดปัญหา วางทุ่นล้อมคราบน้ำมันเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจาย เพื่อควบคุมสถานการณ์บริเวณที่เกิดเหตุทันที


จนเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 4 กันยายนทีมผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า คราบน้ำมันจะมีทิศทางการเคลื่อนตัวขนานกับเกาะสีชัง แต่จากการสำรวจเมื่อเช้าวันที่ 5 กันยายน ก็ไม่พบกลุ่มคราบน้ำมันขนาดใหญ่ พบเพียงแค่แผ่นฟิล์มบางๆ บนผิวน้ำทะเลเท่านั้น

ล่าสุด ในวันนี้ (6 กันยายน) ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจคราบน้ำมันที่รั่วไหล ก็ไม่พบว่ามีคราบน้ำมันเข้าถึงชายฝั่งหาดบางพระ และอ่าวอุดมตามที่ได้คาดการณ์เอาไว้


ส่วนสาเหตุของการรั่วไหล ณัฐพล มีฤทธิ์ ผู้แทนบริษัท ไทยออยล์ก็ระบุเมื่อวันที่ 5 กันยายนว่า ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ทำให้น้ำมันดิบรั่วไหลได้

สำหรับวิธีการขจัดคราบน้ำมัน ผศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่ามีวิธีอยู่ทั้งสิ้น 2 วิธี คือทุ่นกักและการใช้สารช่วยกำจัด แต่น้ำมันที่ลอยกระจายเป็นหย่อม อีกทั้งยังมีคลื่นลม วิธีนี้จึงเป็นไปได้ยาก โดยอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน ซึ่งทาง คพ.ก็ได้อนุมัติสารเคมี (Dispersant) จำนวน 4,500 ลิตร เป็นไปตามปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล 1:10


แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีคราบน้ำมันซัดเข้าชายฝั่ง แต่เมื่อมีการใช้สารเคมี 4,500 ลิตรเพื่อขจัดคราบน้ำมัน ปิ่นสักก์ก็ระบุว่ายังคงต้องติดตามผลกระทบที่เกิดกับสัตว์ทะเล และทรัพยากรในระยะยาวอีกอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งทาง คพ.และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก็ยังติดตามผลกระทบโดยเก็บตัวอย่างน้ำน้ำทะเล และตะกอนดิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เปรียบเทียบในกรณีเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล 5 จุด ได้แก่ เกาะสีชัง อ่าวอุดม เกาะลอย (บริเวณสวนสุขภาพศรีราชา) หาดบางพระ และหาดวอนนภา


🤒 ผลกระทบต่อร่างกาย 😷


สถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล ล่าสุด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมลงพื้นที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์พร้อมเตือนประชาชน หากพบสัตว์ทะเลเปื้อนคราบน้ำมันหรือพบการตายผิดปกติของสัตว์ทะเล ไม่ควรนำมาประกอบอาหารหรือจำหน่ายเพื่อการบริโภค และหมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันที ทั้งนี้ ต้องรอผลการตรวจคุณภาพน้ำทะเลจากห้องปฏิบัติการของกรมควบคุมมลพิษว่าพบการปนเปื้อนหรือไม่ เพื่อประเมินสถานการณ์ที่อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารโลหะหนักจากน้ำมันดิบในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมง


ดังนั้น ในระยะนี้ขอให้ชาวประมงควรหลีกเลี่ยงการจับสัตว์น้ำในบริเวณที่ตรวจพบคราบน้ำมัน เพราะสัมผัสสารพิษเข้าสู่ร่างกายในขณะทำงาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพแบบเฉียบพลันได้ เช่น หายใจลำบาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะผู้มีอาการภูมิแพ้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก็จะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น

และหากมีการสัมผัสทางดวงตาและผิวหนังโดยตรง อาจส่งผลให้ทำให้เกิดการระคายเคือง หรือส่งผลกระทบแบบเรื้อรังและระยะยาว หากมีความจำเป็นควรสวมถุงมือจับสัตว์ทะเลที่สงสัยว่ามีการปนเปื้อนคราบน้ำมัน


“สำหรับนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมทางน้ำในพื้นที่ตรวจพบว่ามีคราบน้ำมันปนเปื้อน เพื่อป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากการสัมผัสสารพิษโลหะหนัก สำหรับประชาชนควรสังเกตลักษณะของอาหารทะเล หากพบความผิดปกติมีการปนเปื้อนคราบน้ำมัน ควรหลีกเลี่ยงการซื้อมารับประทาน และติดตามข้อมูลสถานการณ์การจัดการคราบน้ำมันและผลกรกะทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวในการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย จากร้านอาหารหรือสารประกอบการที่ได้มาตรฐาน”


🌳ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม🌳


จากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วกลางทะเลระยอง 400,000 ลิตรนั้น ถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ต้องเร่งสกัดเก็บกวาดให้เร็วที่สุดก่อนจะขึ้นไปชายหาด เพราะจะยากต่อการทำความสะอาด และแน่นอนว่าการรั่วไหลในทะเลนั้น เป็นมลพิษทางน้ำต่อสัตว์ทะเลแน่นอน รวมถึงอาจกระจายไปยังบนหาดและนกบริเวณดังกล่าวได้ด้วย ความกังวลหลายด้านหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ส่งผลกระทบทางตรงต่อระบบนิเวศ แม้จะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่ก็จะยังคงอยู่ระยะยาวและค่อยๆซึมลึกสู่ใต้น้ำและหาดทรายจากสารพิษตกค้าง อีกทั้งการกำจัดไม่ง่ายที่จะขจัดให้หมดจดในคราวเดียว


ผลกระทบต่อสัตว์น้ำ

สิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศทางทะเล สัตว์ทะเลที่แหวกว่ายในน้ำลึกได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลน้อยลง แต่ภัยพิบัติจากน้ำมันใกล้ชายฝั่งมักจะสร้างความเสียหายให้กับนกชายฝั่งและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณชายทะเลและบนพื้นผิวของมหาสมุทรมากที่สุด และต่อไปนี้คือตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว


นก

นกที่ออกหากินตามชายฝั่งอาจมีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากน้ำมันปกคลุมพื้นผิวมหาสมุทร ที่พวกมันกินเข้าไปและน้ำมันที่ไหลซึมอยู่ตามชายหาดที่มันเดินหาอาหาร และรังของมันที่มีคราบน้ำมันไปเกาะ เมื่อนกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำมัน มันจะทำให้ขนนกไร้ประโยชน์ เพราะมันไปทำให้ฉนวนบนขนนกลดประสิทธิภาพลง ความอบอุ่นในร่างกายจึงลดลง ซึ่งเรื่องฉนวนบนขนสัตว์นี้ ใช้ได้กับหล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจนในทะเลด้วย อย่างเช่น นากทะเลและแมวน้ำ ที่มีขนให้ความอบอุ่นเช่นเดียวกัน หากตัวมันมีแต่น้ำมันที่ทำให้ประสิทธิภาพการอบอุ่นร่างกายลดลง พวกมันก็จะตายลงอย่างช้า การการที่ภูมิคุ้มกันตก


ปลา

น้ำมันที่หนากว่าบางชนิดจะจมลงสู่ก้นมหาสมุทร โดยที่พวกปลามักกินเข้าไป น้ำมันที่กินเข้าไปจะไม่ฆ่าพวกมันในทันที แต่จะมีสารพิษสะสมอยู่ในตับและอวัยวะอื่นๆ นานพอที่ชาวประมงจะจับขึ้นมาเพื่อมาเป็นอาหารซีฟู้ดให้กับเรา


ปูหรือหอยที่อาศัยอยู่ในทราย

น้ำมันที่มีความเข้มข้นสูงจะฆ่าปูที่โตเต็มวัย ในขณะที่ปริมาณที่น้อยกว่าอาจเป็นอันตรายต่อทารกและไข่ของพวกมัน สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศชายหาดของเราเพราะ "ทุกคนกินพวกมัน"

และสัตว์อื่นๆ เช่น เต่า โลมา วาฬ แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์เหล่านี้ล้วนได้รับอันตรายการการรั่วไหลของน้ำมัน แม้ว่าพวกมันจะรู้ตัวและหนีไปได้ทัน แต่ก็ยังเสี่ยงอยู่ดี


นอกจากนี้ผลกระทบต่อพืชทะเลนั้นก็สำคัญ เพราะเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ

การรั่วไหลของน้ำมันที่ล่องลอยอยู่เหนือผิวน้ำนั้น ส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและแสงส่องไม่ถึงพืชทะเล ในพื้นที่ทีมีพืชทะเลเติบโตอยู่ รวมไปถึงปะการัง


⁉️ ใครควรรับผิดชอบ? ⁉️


อ้างอิงจากการแถลงการณ์ของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

“ตามที่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ)ได้แจ้งเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล (SBM-2) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อช่วงดึกของคืนวันที่ 3 กันยายน 2566 โดยบริษัทฯ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์และดำเนินการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายทันทีตั้งแต่เกิดเหตุแล้วนั้น

บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบความคืบหน้าว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินการขจัดคราบน้ำมันซึ่งประเมินว่ามีปริมาณประมาณ 60,000 ลิตร และมีจุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือไทยออยล์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร โดยบริษัทฯ ได้เร่งรัดดำเนินการต่างๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบของเหตุการณ์ ดังนี้


ดำเนินการขจัดคราบน้ำมันและวางทุ่นล้อมไม่ให้คราบน้ำมันเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่ง โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสนับสนุนกำลังพล เรือ อากาศยาน อุปกรณ์ และสารเคมีขจัดคราบน้ำมัน ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลสำรวจและวิเคราะห์หาสาเหตุของการรั่วไหลในเบื้องต้น ร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ติดตามทิศทางการไหลของกระแสน้ำ และคาดคะเนทิศทางการเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันเพื่อเตรียมมาตรการป้องกันกรณีคราบน้ำมันถูกพัดเข้าชายฝั่ง เตรียมความพร้อมกำลังพลจากกองทัพเรือเพื่อขจัดคราบน้ำมันบนชายฝั่งและการเข้าช่วยเหลือ หากเกิดเหตุ พบคราบน้ำมันบนชายฝั่งหรือเกิดผลกระทบต่อชุมชน

เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 4 กันยายน 2566 ทีมผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า คราบน้ำมันจะมีทิศทางการเคลื่อนตัวขนานกับเกาะสีชัง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจล่าสุดเมื่อเช้าวันที่ 5 กันยายน 2566 ไม่พบกลุ่มคราบน้ำมันขนาดใหญ่ พบเพียงแค่แผ่นฟิล์มบางๆ บนผิวน้ำทะเลเท่านั้น ซึ่งบริษัทฯ จะยังคงทำการสำรวจเพื่อให้มั่นใจต่อไป

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risk Policy) ทั้งทรัพย์สิน (Property Damage) การหยุดชะงักของธุรกิจ (Business Interruption) การขนส่งสินค้าทางทะเล (Marine Cargo Policy) ความรับผิดต่อสิ่งแวดล้อม (Pollution Legal Liability Policy) และความรับผิดตามกฎหมาย ต่อบุคคลภายนอก (Third Party Liability)

บริษัทฯ จะยังคงเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และจะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป”


นอกจากนี้ กรมทะเลได้ให้แถลงการณ์ไว้ดังนี้


“จากกรณีเกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมัน ขณะขนถ่ายน้ำมันดิบบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล หมายเลข 2 (SBM-2) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ซึ่งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566


กรมฯได้เร่งดำเนินการประสานงานกับ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กรมเจ้าท่า กรมควบคุมมลพิษ และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อรีบจัดการคราบน้ำมันก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง

ซึ่งทางบริษัท ไทยออยล์ จำกัด แจ้งว่า ภายหลังเกิดเหตุได้เข้าควบคุมสถานการณ์บริเวณที่เกิดเหตุทันที โดยได้ปิดวาล์วท่อน้ำมันที่เกิดปัญหาและวางทุ่นล้อมคราบน้ำมันเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจายตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้ขณะนี้ไม่มีน้ำมันรั่วไหลเพิ่มเติมแล้วและไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว อีกทั้งบริษัทฯ ได้ร่วมกับกรมเจ้าท่าฉีดพ่นสารเคมีเพื่อขจัดคราบน้ำมันให้ย่อยสลายบริเวณจุดเกิดเหตุดังกล่าว

สถานการณ์ปัจจุบันบริเวณจุดเกิดเหตุทางเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันดำเนินการจัดเก็บคราบน้ำมันได้ทั้งหมดแล้วอีกทั้งได้มีการบินพารามอเตอร์เพื่อสำรวจบริเวณใกล้เคียงโดยไม่พบคราบน้ำมันแต่อย่างใด


ในการนี้ ตน ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 ลงพื้นเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณที่เกิดเหตุไปตรวจสอบคุณภาพน้ำพร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเล


เนื่องจากหากมีคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชสาหร่ายและพืชน้ำต่างๆเปลี่ยนแปลงสภาวะการย่อยสลายของแบคทีเรียในน้ำซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น


ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ศวทอ. และสทช.2 จะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบทรัพยากรทางทะเลหากผลเป็นประการใดจะรายงานให้ทราบต่อไป

นอกจากนี้ ตน จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน และนักท่องเที่ยว ช่วยกันสอดส่องดูแล

โดยหากพบน้ำมันรั่วไหลบริเวณทะเลและชายฝั่ง หรือพบการกระทำผิดกฎหมาย สามารถแจ้งมายังสายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร.1362 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่เร่งเข้าตรวจสอบ และช่วยเหลือได้ทันท่วงทีต่อไป” - อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)



อ้างอิงจาก Springnews, Bangkokbiznews, Banmuang และGreennews


#น้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเล #ชลบุรี #WhatHappeninginThailand #CACJ #WeAreManushyan



bottom of page