สรุปประเด็นสำคัญจากงานเปิดตัวหนังสือ 'LGBTQI Digital Media Activism and Counter-hate Speech'





🏳️🌈📺 สรุปประเด็นสำคัญจากงานเปิดตัวหนังสือ 'LGBTQI Digital Media Activism and Counter-hate Speech – Experiences from Asia and Europe'
#เสรีภาพในการแสดงออก 📌 LGBTIQ+ ในอิตาลี ไทย และเอเชียมีประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรบ้าง? เราจะมั่นใจได้อย่างไรกฎหมายต่อต้านคำพูดแสดงความเกลียดชัง (Hate Speech) ถูกบังคับใช้เพื่อปกป้องกลุ่ม LGBTIQ+ ไม่ใช่เพื่อควบคุมพวกเขา? และสื่อดิจิทัลมีบทบาทอย่างไรในการทำให้ชุมชน LGBTIQ+ เข้าใกล้ความเท่าเทียมมากขึ้น?
📣 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่ผ่านมา คุณเอมิลี่ ประดิจิต ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะ ร่วมกับ ซาร่า กาบาย (Sara Gabai) นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร และเฮนรี่ โค (Henry Koh) ผู้อำนวยการ ILGA Asia ได้แบ่งปันข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญดังกล่าวในงานเปิดตัวหนังสือ 'LGBTQI Digital Media Activism' and Counter-hate Speech In Italy' ที่ SEA Junction หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
#สมรสเท่าเทียม 🇹🇭 ในประเทศไทย LGBTIQ+ ยังคงถูกปฏิบัติเหมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจที่ผิด ๆ ที่ว่าไทยเป็น “สวรรค์ของ LGBTIQ+” ตัวอย่างเช่น ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตถูกผลักดันให้เป็นกฎหมายแทนสมรสเท่าเทียม ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าบุคคล LGBTIQ+ ในประเทศไทยยังถูกกีดกัน และไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียม นอกจากนี้ คำตัดสินเหยียดเพศของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันยังเป็นที่หลักฐานประจักษ์ว่าประเทศไทยกำลังถูกปกครองด้วยกลุ่มอนุรักษนิยม และคนที่ไม่เข้าใจชีวิตและประสบการณ์ของพวกเขา จากเนื้อหาคำตัดสินที่เปรียบเทียบคนรักเพศเดียวกันกับสัตว์ ซึ่งมีแต่จะทำให้คำพูดแสดงความเกลียดชังในไทยลุกลามและรุนแรงกว่าเดิม
🏛⛔️ “หากคุณมีกฎหมายห้ามการแสดงออกที่แฝงความเกลียดชัง แต่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล LGBTIQ+ กฎหมายห้ามความเกลียดชังอาจถูกใช้เพื่อควบคุมกลุ่มคนเพศหลากหลายได้ เพราะฉะนั้น ขั้นตอนแรกคือการยอมรับสิทธิของกลุ่ม LGBTIQ+ และการันตีว่าสิทธิ LGBTIQ+ เป็นสิทธิมนุษยชน” คุณเอมิลี่ ประดิจิต กล่าว
➡️ ชมถ่ายทอดสดการเสวนาที่งานเปิดตัวหนังสือย้อนหลัง https://bit.ly/3FVo6qU
ขอบคุณคุณซาร่า กาบายที่ชวนทางมูลนิธิมานุษยะไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่งานเปิดตัวหนังสือในครั้งนี้ เราขอแสดงความยินดีอีกครั้งสำหรับความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้ 🌈
#WeAreManushyan ♾ มนุษย์เท่าเทียมกัน
✊ มูลนิธิมานุษยะขอยืนหยัดเคียงข้างกลุ่ม LGBTIQ+ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกรับรองบุคคล LGBTIQ+ ในฐานะ #มนุษย์ที่เท่าเทียมกัน และรับประกันว่าพวกเขาจะได้รับความคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ อาชญากรรมจากความเกลียดชัง และคำพูดแฝงเกลียดชัง อย่างที่เอมิลี่ได้เน้นย้ำระหว่างการเสวนาว่า “ความเงียบของคุณไม่ได้ช่วยปกป้องเรา”!
Comentários