เอมิลี่ ประดิจิต และผู้ให้การสนับสนุนสิทธิมนุษยชนเรียกร้องในการ #หยุดNAPping ที่ #UNForumBHR 2022!
#ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน #ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ เอมิลี่ ประดิจิต และบรรดาผู้ให้การสนับสนุนสิทธิมนุษยชนจากทั่วทุกมุมโลกได้เรียกร้องบรรดารัฐต่าง ๆ ในการ #หยุดNAPping ที่ #UNForumBHR 2022!
🗣️ มูลนิธิมานุษยะ, PODER, BHRRC, และ ISHR ได้ร่วมกันจัดการประชุมย่อย: "หลักการชี้แนะของสหประชาชาติ และ แผนปฏิบัติการแห่งชาติ: การเยียวยาผู้เสียหายและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน" ระหว่างการประชุมอภิปรายที่สหประชาชาติ ครั้งที่ 11 ในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่เจนีวา ในการประชุมอภิปรายมีจุดประสงค์เพื่อ
มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP-BHR) อันดับแรก อะไร คือ NAP-BHR❓
NAP ได้ถูกให้คำนิยามว่าเป็น "กลยุทธ์เชิงนโยบายที่พัฒนาโดยรัฐเพื่อป้องกันผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่ไม่พึงประสงค์จากองค์กรธุรกิจโดยสอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGPs)"
NAP-BHR จะเป็น 'การผสมผสานกันอย่างชาญฉลาด' ระหว่างมาตรการบังคับและมาตรการตามความสมัครใจในทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
❗ แต่ในความเป็นจริงแผนปฏิบัติการแห่งชาติ (NAPs) ไม่ได้เป็นไปตามหลักการเหล่านี้ และกลับกลายให้เป็นเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่นำความรับผิดชอบขององค์กรในทางปฏิบัติ
นั่นจึงเป็นสาเหตุให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางด้านแผนปฏิบัติการแห่งชาติอันเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (NAP-BHR) จากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมการอภิปรายเพื่อหารือเกี่ยวกับการขาดประสิทธิผลของมาตรการสมัครใจเพื่อให้แน่ใจว่าเกิดความรับผิดชอบขององค์กรที่แท้จริง ผู้ร่วมอภิปรายกำลังถกเถียงกันเรื่องแผนปฏิบัติการแห่งชาติอันเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ที่ออกมาและถูกปรับใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพในประเทศเม็กซิโกและประเทศไทย และการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางด้านสิทธิมนุษยชนตามความสมัครใจที่มีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (HRDD) ในขณะที่วิเคราห์ข้อบังคับของสหภาพยุโรป เรื่อง การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะความยั่งยืนของภาคธุรกิจ
เอมิลี่ ประดิจิต ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะ ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงในเบื้องหลังของความล้มเหลวของการออกและการปรับใช้แผนปฏิบัติการแห่งชาติอันเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย:
✔️ การมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมของชุมชนท้องถิ่น ณ ขณะของการเริ่มต้นกระบวนการตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติที่เริ่มใช้ในปี 2560: มูลนิธิมานุษยะ และเครือข่ายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้สร้างความมั่นใจในการมีส่วนร่วมอย่างเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร เฟมินิสต์ และชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แรงงานข้ามชาติ สหภาพแรงงาน นักกิจกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม ชนเผ่าพื้นเมือง และผู้ให้บริการทางเพศ ในกระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติ โดยหวังว่าแผนปฏิบัติการแห่งชาติจะนำพาความเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์จริง และรับประกันว่าธุรกิจต่าง ๆ จะเคารพสิทธิมนุษยชน
❌ #การฟอกขาวในกระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติ (NAP process): การมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมของชุมชนต่าง ๆ กลับถูกควบคุมโดยรัฐบาลไทยที่ได้โกหกกับประชาคมโลกที่สหประชาชาติ: มูลนิธิมานุษยะ เครือข่ายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และชุมชนต่าง ๆ ถูกรัฐบาลไทยใช้เพื่อไปนำเสนอคำบอกเล่าอันเป็นเท็จ แสร้งว่าชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตัวเองเป็นอย่างมาก ในขณะที่ไม่นำความเห็นเพิ่มเติมจากภาคประชาสังคมไปปรับใช้ในแผนปฏิบัติการแห่งชาติในเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่ออกมาในปี 2562
❌ #การฟอกเขียว: แผนปฏิบัติการแห่งชาติในเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่ ’การผสมผสานกันอย่างชาญฉลาด’ระหว่างมาตรการบังคับและมาตรการตามความสมัครใจ: iมันเป็นเพียงแค่แผนงานสำหรับการประชุมต่าง ๆ ที่มีมาตรการตามความสมัครใจ ซึ่งนั่นไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น
❌ NAPไม่ได้นำสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและสิทธิของผู้ให้บริการทางเพศมาพิจารณา
❌ NAP ไม่มีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางด้านสิทธิมนุษยชนภาคบังคับและไม่มีกฎหมายป้องการถูกฟ้องคดีปิดปากที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
เอมิลี่เน้นย้ำถึงความเป็นจริงที่เลวร้ายว่า คดีฟ้องปิดปากยังคงดำเนินอยู่ โดยบริษัทต่างๆ พยายามปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และเนื่องจากการที่ไม่ได้ถูกรับฟังแม้ว่าพวกเขาจะมีส่วนร่วมก็ตาม ภาคประชาสังคมหมดความสนใจในการที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลอีกครั้ง และเธอได้ให้ข้อสรุปว่าไม่มีใครต้องการแผนปฏิบัติการแห่งชาติอีกต่อไป!
“ไม่มีใครต้องการแผนปฏิบัติการแห่งชาติอีกต่อไป ถ้าคุณเป็นสมาชิกของชุมชนที่เข้าร่วมประชุมอยู่เสมอ ๆ ได้นำเสนอว่าพ่อของคุณถูกฆาตรกรรม หรือคุณถูกทำให้มีความผิดทางอาญาอย่างไม่เป็นธรรมจากบรรดาบริษัทต่าง ๆ ได้อย่างไร แล้วในวันนั้นคุณมีแผนปฏิบัติการแห่งชาติที่ไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในทางปฏิบัติ คุณยังมีความจำเป็นที่จะต้องการแผนปฏิบัติการแห่งชาติอีกฉบับอีกหรือ? แน่นอนว่าไม่”
เอมิลี่ ประดิจิต ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะ
✊ ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ เอมิลี่จึงได้เรียกร้องให้บรรดารัฐต่าง ๆ #หยุดNAPping และออกบังคับใช้กฎหมายการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม (mHREDD) เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีความรับผิดชอบในการกระทำของภาคธุรกิจอย่างแท้จริง!
อิเวตต์ กอนซาเลซ, ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์สนับสนุนของ PODER นำเสนอข้อเท็จจริงคล้าย ๆ กัน เกี่ยวกับ ‘สถานการณ์ในเม็กซิโก’ ซึ่งรัฐบาลล้มเหลวในการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติอันเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน:
✔️ การมีส่วนร่วมอย่างสูงของภาคประชาสังคมในกระบวณการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติที่เริ่มขึ้นในปี 2558
❌ ในเดือนกรกฎาคม 2560 ภาคประชาสังคมไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวณการ: พวกเขารู้สึกผิดหวังที่ร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติออกมาโดยไม่เป็นแนวทางเดียวกับสิ่งที่พวกเขาให้การสนับสนุนและสิ่งที่พวกเขาได้ให้คำแนะนำไว้อย่างครอบคลุม ซึ่งพวกเขาได้ให้ไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
นอกจากในประเด็นขั้นตอนการพัฒนาแล้ว อิเวตต์ยังวิจารณ์ในเนื้อหาอีกด้วย:
❌ ร่างที่อ่อนแอ: สิ่งที่ออกมาในแผนปฏิบัติการแห่งชาติไม่เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน:
ปัญหาหลัก ๆ เช่น การเข้าถึงกระบวณการยุติธรรม และ การได้รับการเยียวยาไม่ถูกพูดถึง
ไม่มีการระบุมาตรการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในภาคธุรกิจ
ไม่มีกลไกการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว หรือ ผู้แจ้งเบาะแส ปรากฏออกมา
สิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองไม่ได้ถูกพูดถึง
ไม่มีแนวทางที่แสดงให้เห็นว่าทำให้รัฐวิสาหกิจเคารพสิทธิมนุษยชน
❗ แค่เฉพาะในปี 2565 ที่รัฐบาลเม็กซิโกกำลังพยายามรื้อฟื้นการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติอันเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรก
🗣️ อิเวตต์ไม่ถือว่าแผนปฏิบัติการแห่งชาติของประเทศเม็กซิโกเป็นเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ!
ในขณะที่เธอได้แบ่งปันประสบการณ์ของเธอเกี่ยวกับ 'สถานการณ์ในเม็กซิโก' และความพยายามที่ล้มเหลวของประเทศในการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติในเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน อิเวตต์ได้ให้ข้อสรุปว่า:
“ถ้าแผนปฏิบัติการแห่งชาติแค่มุ่งเน้นเพียงการสร้างความตระหนักรู้ และการสร้างขีดความสามารถให้กับบรรดาบริษัท นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างเรียกสิ่งนั้นว่าเป็นแผนปฏิบัติการแห่งชาติเลย! นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมก่อนหน้านี้ภาคประชาสังคมไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวณการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติในประเทศเม็กซิโก มันเป็นกระบวณการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลขั้นพื้นฐาน และไม่กล่าวถึงปัญหาหลัก ๆ ที่เราได้พูดถึงอยู่หลายครั้งอย่างเหมาะสม อย่างเช่น พัฒนาการเข้าถึงกระบวณการยุติธรรมและการเยียวยาสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของภาคธุรกิจ”
มิสะ โนริกามิ นักวิจัยและตัวแทนชาวญี่ปุ่น จาก BHRRC ได้วิพากษ์วิจารณ์ แนวปฏิบัติการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางด้านสิทธิมนุษยชนตามความสมัครใจที่มีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น:
❌ ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของแนวปฏิบัติก่อนที่ร่างจะเผยแพร่ในเดือนสิงหาคม 2565
❌ ช่วงเวลาระหว่างการจัดทำร่าง (สิงหาคม 2565) และแนวปฏิบัติซึ่งเป็นร่างฉบับสุดท้าย (กันยายน 2565) นั้นสั้นเกินไปที่จะพิจารณาและรวมความคิดเห็นที่ได้รับจำนวนมาก
👉 สาธารณชนมีเวลาเพียงแค่หนึ่งเดือนในการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ และเป็นไปได้ว่าความเห็นเหล่านั้นไม่ถูกนำมาพิจารณาในแนวปฏิบัติซึ่งเป็นร่างฉบับสุดท้าย!
❌ เนื้อหาที่เบาบาง:
ไม่มีกลไกในการนำแนวปฏิบัติไปสู่การปฏิบัติ
แนวปฏิบัติในการเยียวยาไม่เพียงพอ
ไม่มีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะสิ่งแวดล้อมรวมเข้าไว้ด้วย
❌ ข้อจำกัดทางภาษา: แนวปฏิบัติการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางด้านสิทธิมนุษยชนถูกเผยแพร่เป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ในขณะที่บริษัทสาขาและชุมชนที่ได้รับผลกระทบตลอดห่วงโซ่อุปทานไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่น
✊ มิสะเชื่อว่ารัฐบาลญี่ปุ่นควรจัดเตรียมแนวปฏิบัติสำหรับภาคธุรกิจมากกว่านี้และเรียกร้องให้มีการปรับใช้ารตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมภาคบังคับ!
ซาร่าห์ บรูคส์ ผู้อำนวยการโครงการของ ISHR ได้พูดถึง ข้อบังคับของสหภาพยุโรป เรื่อง การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะความยั่งยืนของภาคธุรกิจ:
✔️ ก้าวที่สำคัญสำหรับความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ:
ภาคธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทต่าง ๆ จะต้องรับผิดชอบในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางด้านสิทธิมนุษยชน
ผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องเข้าถึงการเยียวยาได้โดยง่าย
❌ ช่องโหว่:
บริษัทในภาคเทคโนโลยีหรือการเงินจำเป็นต้องรวมอยู่ในขอบเขตดังกล่าวด้วย
บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องสนับสนุนในประเด็นเรื่องของการทับซ้อนกันทางอำนาจด้วย ต้องมีการพิจารณามิติในเรื่องเพศภาวะตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของตน และรวมถึงการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะด้านสิ่งแวดล้อม
✊ ซาร่าห์คาดหวังว่าสหภาพยุโรปจะนำข้อบังคับของสหภาพยุโรปไปใช้ทั้งต้นทางและปลายทางของห่วงโซ่คุณค่า เพราะเหตุใด ❓ เนื่องจากอีกสิ่งที่สำคัญคือต้องให้กลุ่มทุนที่ได้ลงทุนมีความรับผิดชอบ เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานสิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพทั่วโลก!
เฟอร์นันดา โฮเปนเฮย์ม ประธานคณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนได้ให้ข้อคิดเห็นที่ลึกซึ้ง:
👉 เธอได้แสดงให้กระจ่างชัดว่า ไม่มีภาระผูกพันสำหรับใครก็ตามที่จะต้องดำเนินการตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGPs) ส่วนใหญ่ต้องเป็นการมีภาระผูกพันผ่านแผนปฏิบัติการแห่งชาติ!
🤝 เธอย้ำเตือนว่าประเทศสมาชิกสหประชาชาติมีหน้าที่ต้องปกป้องและรับประกันสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้ว
👉 เธอเน้นย้ำว่าภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน และหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนได้ให้ความสำคัญอย่างชัดเจนว่าองค์กรต้องทำอะไร: หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนให้คำแนะนำสำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านสิทธิมนุษยชน การเข้าถึงการเยียวยา และองค์ประกอบความยุติธรรม
“ไม่มีสิ่งใดในอาณัติของเราที่บังคับให้เราหรือใครก็ตามต้องพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติ อำนาจที่เราได้รับมอบหมายมีเพียงแค่ ส่งเสริมการนำหลักการชี้แนะของสหประชาชาติไปปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานระดับโลกที่ทำให้พันธกรณีของรัฐที่มีอยู่แล้วกระจ่างชัด ไม่มีอะไรใหม่ไปจากนั้น รัฐมีพันธะผูกพันในการคุ้มครองและรับประกันสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน และหลักการชี้แนะของสหประชาชาติจะทำให้กระจ่างในเรื่องของกรณีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ แต่ไม่ได้มีก่อให้เกิดพันธะกรณีใหม่ แม้จะมีการเน้นอย่างชัดเจนว่าบริษัทต่างๆ มีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิมนุษยชนและให้คำแนะนำสำหรับการตรวจสอบสถานะ และแน่นอน การเข้าถึงองค์ประกอบการเยียวยาและความยุติธรรม”
เฟอร์นันดา โฮเปนเฮย์ม ประธานคณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
ดูวิดีโอเต็มบน Youtube:
#WeAreManushyan – มนุษย์เท่าเทียมกัน
🔗 หากคุณเลื่อนมาถึงตรงนี้ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เราให้การสนับสนุนใน #UNForumBHR 2022, งานของเราเพื่อการสนับสนุนในความรับผิดชอบของภาคธุรกิจอย่างแท้จริง:
#ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน: เอมิลี่ ประดิจิตได้ประนามการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจและเรียกร้องการออกกฎหมายป้องกันการถูกฟ้องคดีปิดปากที่ #UNForumBHR 2022, 20 ธันวาคม 2565
#ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน #หยุดการฟ้องคดีปิดปาก: นาดาได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ #UNForumBHR 2022!, 14 ธันวาคม 2565
#ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ: มูลนิธิมานุษยะคัดค้านการครอบงำอำนาจและการละเมิดจากภาคธุรกิจที่ #UNForumBHR!, 9 ธันวาคม 2565
หยุดNAPping: ชุมชนผิดหวังจากการต่อสู้กลับจาก NAP-BHR ของไทย: มันถึงเวลาแล้วที่จะ #หยุดNAPping!, 2 พฤศจิกายน 2565
#Stop-NAPping: ประเทศไทย: อะไรคือ NAP-BHR และทำไมเราถึงไม่ต้องการมัน?, 7 ตุลาคม 2565
#AsiaWakeUp: #RBHRF2022 ได้จบลงแล้ว และความประสงค์ของเรานั้นชัดเจน: มันถึงเวลาสำหรับประเทศไทยแล้วที่จะ #หยุดNAPping! 22 กันยายน 2565
#CorporateAccountability #AsiaWakeUp: เราต้องการ #สนธิสัญญาที่มีผลผูกพัน ตามกฎหมายเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทต่าง ๆ จะดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะสิทธิมนุษยชนภาคบังคับ!, 20 กันยายน 2565
อ่านเอกสาร UPR ของเรา ผู้คนและโลกต้องมาก่อนผลกำไร, 13 กันยายน 2564
อ่าน ความคิดเห็นร่วม ของเราในร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติฉบับสุดท้าย (NAP) ในเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (BHR), มิถุนายน 2562
อ่านบทประเมินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ของเรา: การประเมินข้อมูลฐานระดับชาติ (NBA) จากองค์กรอิสระภาคประชาสังคมในเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน, มีนาคม 2562
#2022UNForumBHR #StopCorporateCapture #AsiaWakeUp #PeopleOverProfit #PlanetOverProfit #BindingTreaty#WeAreJustTransition #JustTransition #StopNAPping #StopSLAPP
Comments