top of page

แผนปฏิบัติการธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทยทำลายความหวังของชุมชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า: ถึงเวลา #หยุดNAPping

Writer's picture: Manushya FoundationManushya Foundation

หยุดการฟอกเขียว!

หยุดกลบเกลื่อนความจริง!


ถึงชาวมนุษยันและเพื่อน ๆ


ในขณะที่การประชุมภาคี COP27 เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้เปิดฉากขึ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ ก่อนการประชุมระดับโลกว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 11 ที่กรุงเจนีวา (26-28 พฤศจิกายน) เราตัดสินใจว่านี่เป็นช่วงเวลาอันเหมาะสมที่พวกเราจะได้บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเราในการเรียกร้องความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจและนโยบายลดโลกร้อนที่เป็นธรรมในประเทศไทยออกไปเสียที แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับแรกของประเทศไทย (NAP-BHR) เป็นตัวอย่างประจักษ์แจ้งของนโยบายฟอกเขียวทำได้โดยสมัครใจอันไร้ประสิทธิภาพ และการกลบเกลื่อนความจริงอันเลวร้ายของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ได้รับการชื่นชนสนับสนุนในการประชุมระดับโลกของสหประชาชาติ ดังที่ Audre Lorde บอกเราทุกคนในบทความว่า ไม่มีโครงสร้างของระบบใดที่ถูกทำลายด้วยเครื่องมือที่ใช้สร้างมันขึ้นมา แล้วเรากำลังทำอะไรอยู่บ้างเพื่อรื้อถอนมันด้วยพลังของเราเอง?


ในการบอกเล่าเรื่องราวของเรา เราหวังว่าจะทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อน ๆ ทั้งหลาย และชวนผู้ที่ใช้เครื่องมือของระบบไตร่ตรองดูอีกครั้ง มาร่วมเดินหน้าไปกับเรา ยึดมั่นในแรงพลังการต่อสู้เรียกร้องความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ นโยบายลดโลกร้อนที่เป็นธรรม และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ที่คำนึงถึงอัตลักษณ์ทับซ้อนตามหลักเฟมินิสต์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุด ต้องนำโดยชุมชนท้องถิ่น


อ่านต่อไปในบทความนี้เพราะเราจะเล่าคุณฟังจนหมดเปลือก! นี่คือการเชื้อเชิญให้พวกเราทุกคนช่วยกันพัฒนาให้ดีขึ้น


ในที่สุดเรื่องราวของพวกเราจะได้ถูกบอกเล่าออกไป


ณ ห้องประชุมสหประชาชาติที่เงียบงันได้เริ่มคึกคักขึ้นจากการเคลื่อนไหวอย่างไม่ทันตั้งตัว นอกจากการถ่ายทอดสดหลักของที่ประชุม ที่กำลังใกล้สิ้นสุดการรายงานการะประชุมลงในอีกไม่ช้า ทุกสายตาและอุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงจำนวนมากในที่ประชุมล้วนหันไปยังสมาชิกชุมชนและกลุ่มนักเคลื่อนไหวสิทธิที่ได้ยืนขึ้นเพื่อชูถือป้ายประท้วงที่เขียนขึ้นด้วยลายมือ เพื่อปกป้องสิทธิของพวกเขาในระหว่างการประชุมความรับผิดชอบของภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 2022 (RBHRF) พวกเขาได้ประณามแผนปฏิบัติการระดับชาติฉบับแรกว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (NAP-BHR) ของประเทศไทย ว่าเอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารที่ไร้ประสิทธิภาพ และไม่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้ตามที่เคยได้กล่าวอ้าง อีกทั้งยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะจัดการต่อกรณีที่ภาคธุรกิจได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือแม้แต่การนำมาซึ่งความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจ กลายเป็นว่าในปัจจุบันกลับเหลือเพียงช่องโหว่ทางกฎหมายยังคงรอให้มีถูกเติมเต็ม


“หยุด NAPping” คุณเอมิลี่ ประดิจิตร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะ ได้กล่าวระหว่างเซสชั่นการแทรกแซงที่ตรงไปตรงมาและทรงพลังในการประท้วงอย่างสันติในที่ประชุม

“พวกเราในฐานะภาคประชาสังคม ได้ดำเนินการอย่างสุดความสามารถเพื่อฝึกฝนและอบรมชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ นักปกป้องสิ่งแวดล้อม และกลุ่มคนผู้ปกป้องและพิทักษ์สิทธิในที่อยู่ทำกินของตน ในให้ความรู้ในเรื่องหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) แก่พวกเขา สำหรับในช่วงห้าปีที่ผ่านมา เราได้จัดการฝึกฝนและอบรมความรู้ให้พวกเขาได้เข้าใจกลไกเหล่านั้นทั้งหมด กลุ่มชนเผาพื้นเมืองและนักปกป้องสิ่งแวดล้อมได้เข้าร่วมการประชุมภาครัฐด้วยกันหลายครั้งเพื่อแบ่งปันข้อกังวลและแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่ท้ายที่สุด กลับกลายเป็นว่าในการเข้ามามีส่วนร่วมครั้งสำคัญของพวกเรา กลับถูกหลอกใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของภาครัฐ”

เป็นที่ทราบกันดีว่าในว่ากระบวนการร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับแรกของประเทศไทย (NAP-BHR) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกฉบับแรกที่ได้จัดทำขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลไทย ได้กลายเป็น “ผู้ชนะเลิศ” ในด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนประจำภูมิภาคเอเชีย แต่สำหรับชุมชนระดับรากหญ้า นักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มนักเคลื่อนไหวสิทธิ และกลุ่มภาคประชาสังคมนั้นพวกเรากลับเห็นตรงกันว่า แผนปฏิบัติการ NAP-BHR ของประเทศไทยได้พลาดโอกาสที่จะเปิดใจรับฟัง เป็นกระบอกเสียง และรวบรวมข้อเรียกร้องของพวกเขาเข้ามาใส่ไว้ในเอกสารกลยุทธ์ระยะยาว โดยแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ฉบับที่ 1 ได้เริ่มบังคับใช้ขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2019 ถึง 29 ตุลาคม 2022 แต่กลับไม่ได้เป็นแผนปฏิบัติการที่เป็น "การรวบรวมอย่างชาญฉลาด" ของมาตรการโดยสมัครใจและมาตรการบังคับที่จำเป็นต่อการรับประกันว่าในทุก ๆ การดำเนินธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบและเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ในทางกลับกัน แผนปฏิบัติการกลับแสดงให้เห็นเพียงความไร้ประสิทธิภาพและการบังคับใช้เครื่องมือที่เอื้อต่อการฟอกเขียว หากพูดให้ชัดขึ้น แผนปฏิบัติการฉบับนี้เหมาะเป็นเพียงแผนงานที่ใช้แค่ในที่ประชุมงานเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้กล้าหาญจำนวนมากกลับยังคงต้องเผชิญกับคดี SLAPP (การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน) ที่มากขึ้นในทุก ๆ วัน จากการที่พวกเขาลุกขึ้นมาต่อสู้กับการปฏิเสธความรับผิดของภาคธุรกิจ


ถึงเวลาบอกเล่าเรื่องราวของเราออกไป: กระบวนการที่นำโดยชุมชนถูกแย่งชิงโดยแผนปฏิบัติการ NAP ของภาครัฐที่ไร้ประสิทธิภาพและยังคงหลับไหลเหมือนกับชื่อของมัน (NAP)!


ตามกลยุทธ์ในประเด็นภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชน BHR ของมูลนิธิมานุษยะ นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ตัวแทนภาคประชาสังคมของพวกเราได้เข้ามามีส่วนร่วมในแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ของประเทศไทย การมีส่วนร่วมในครั้งนี้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และครอบคลุมต่อทุกประเด็น ที่นำทีมโดยมูลนิธิมานุษยะ, เครือข่ายภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย, แนวร่วมผู้มีอัตลักษณ์ทับซ้อนที่ประกอบด้วยกลุ่มนักปกป้องสิ่งแวดล้อม, ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนผู้พิทักษ์ผืนป่าอื่น ๆ, นักเคลื่อนไหวสิทธิ LGBTIQ+, พนักงานบริการทางเพศ, ชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวอีสานและชาวมุสลิมมาเลย์จากภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย, ผู้หญิงและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน และตัวแทนกลุ่มอื่น ๆ อีกมากมาย พวกเราได้เข้าร่วมหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องในด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในประเทศไทยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพระดับภูมิภาคจำนวน 4 ครั้งที่จัดขึ้นที่เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น และระยอง ในปี 2560 โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ พวกเราได้รับการกำกับดูแลโดยองค์กรภาคประชาสังคมทั้ง 4 แห่งด้วยกัน (CSOs) การพูดคุยและการประเมินพื้นฐานระดับชาติ และการประชุมผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ครั้งในปี 2560 และ 2561


จากจุดเริ่มต้นอันแสนราบรื่นสู่จุดจบอันยุ่งเหยิง: ผลการวิจัยที่รวมอยู่ในบทเฉพาะเรื่องของการประเมินพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของ CSO ที่ออกโดยมูลนิธิมานุษยะได้เปลี่ยนทิศทางของกระบวนการร่าง NAP-BHR โดยประเด็นสำคัญทั้งสี่ประการ ที่ระบุไว้ในระหว่างการปรึกษาหารือที่นำโดย CSO (สิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิในที่ดินทำกิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ข้อตกลงทางการค้าและการลงทุนในต่างประเทศของไทย) ที่ถูกรัฐบาลไทยนำไปทำซ้ำโดยระบุไว้ในแผนปฏิบัติการ NAP-BHR; แต่ว่า เนื่องด้วยแผนปฏิบัติการฉบับนี้ไม่มีข้อมูลในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการที่สะท้อนฐานเสียงและข้อมูลของกลุ่มชุมชนระดับรากหญ้า และผ่านการประเมินผลแผนปฏิบัติการ NAP อย่างเข้มข้นที่จัดขึ้นโดยมานุษยะและพี่น้องเครือข่าย BHR ในไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในการเริ่มต้นความร่วมมือกันที่แสนราบรื่นสำหรับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนสำคัญ กลับต้องจบลงอย่างยุ่งเหยิงด้วยแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ที่ไร้ประสิทธิภาพ


เราต้องการเน้นย้ำให้เห็นว่าการไร้มาตรการและขั้นตอนที่มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างรุนแรงต่อการปกป้องสิทธิของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มผู้ค้าบริการ แผน NAP-BHR ของประเทศไทยล้มเหลวอย่างมากในการนำมาดำเนินการใช้จริง และไร้ประสิทธิภาพเมื่อนำมาแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มผู้ประกอบการภาคธุรกิจ: แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยกลับได้รับการส่งเสริมจากทีม UNDP Business และ Human Rights Asia ในฐานะ 'BHR Champion' ในเอเชีย โดยได้เดินทางไปยังที่ประชุม BHR Forums และเข้าการประชุมของสหประชาชาติเพื่อ 'สร้างแรงบันดาลใจให้กับโลก' อีกทั้งยังได้สร้างความเข้าใจผิด ๆ โดยการกล่าวอ้างถึงเรื่องที่ได้รับทุนสนับสนุนมากมาย


สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของเรา: แผน NAP-BHR คืออะไร ทำไมเราถึงไม่ต้องการแผนนี้

แต่ทว่า - หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ครั้งแรก มูลนิธิมานุษยะได้เฝ้าติดตามกรณีการละเมิดของภาคธุรกิจจากทั่วประเทศโดยละเอียด และดำเนินการประเมินการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ที่นำทีมโดยกลุ่ม CSO แต่ในความเป็นจริงกลับกลายเป็นคนละเรื่อง ในขณะที่แผนปฏิบัติการ NAP-BHR ถูกเข้าใจผิดจนได้รับการยกย่องมากมาย คดีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจนั้นมีแต่ทวีคูณความรุนแรงขึ้น: จากกรณีของชุมชนจะนะที่ได้ออกมาต่อต้านโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไปจนถึงคดีของชาวบ้านพิจิตรที่ออกมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในการเผชิญกับผลกระทบอย่างรุนแรงของการดำเนินการทำเหมืองทองคำบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง สมาชิกในชุมชนล้วนถูกดำเนินคดีและมีความผิดโทษอาญา อีกทั้งยัง ถูกคุกคาม และยังต้องเผชิญกับการถูกฟ้องคดีปิดปาก SLAPP จากการออกมาพูดความจริงเพื่อต่อสู้กับอำนาจของภาคธุรกิจและรัฐบาล และในกรณีอื่น ๆ รัฐบาลไทยกลับเลือกที่จะลงโทษชาวบ้านผู้ยากจนผู้อาศัยอยู่ในป่าในข้อหาบุกรุกผืนป่าแทนที่จะจัดการต่อการการที่ภาคธุรกิจได้ดำเนินธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม


จนถึงตอนนี้ เราสามารถพูดออกมาได้อย่างเต็มปากแล้วว่า แผนปฏิบัติการ NAP-BHR ของประเทศไทยนั้นล้มเหลว


ในระหว่างการประชุม Asia Pacific Responsible Business and Human Rights Forum (RBHRF) ที่กรุงเทพฯ ครั้งล่าสุด เมื่อในเดือนที่ผ่านมา มูลนิธิมานุษยะได้ดำเนินการโต้ตอบต่อความเข้าใจผิด ๆ ที่รัฐบาลไทยและทีมงาน UNDP BHR Asia ได้เผยแพร่ออกไปสู่ชาวโลกอย่างมั่นใจในตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา โดยเครือข่ายของพวกเราอย่างนักเคลื่อนไหวที่โดดเด่นจากชุมชนจากพิจิตร ซับหวาย เทพา ชุมชนจะนะ ตัวแทนชุมชนกลุ่มเพศหลากหลาย LGBTIQ+ Young Pride Club กลุ่มคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม Women Workers for Justice Group และทีมงานของมูลนิธิมานุษยะ ได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ อีกทั้งเรายังได้รับการสนับสนุนจาก ESCR-Net และ Asia Task Force สำหรับการผลักดันเรื่องสนธิสัญญามีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย คณะผู้แทนจากกลุ่มอัตลักษณ์ที่หลากหลายและทับซ้อนที่เข้มแข็งของพวกเราเองก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดรูปแบบของการประชุม RBHRF 2022 อีกด้วย


และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้



CSO Safe Space - การพูดคุยและร่วมแลกเปลี่ยนจากทุกภาคส่วน: ถึงเวลาแล้วที่ภูมิภาคเอเชียจะต้องตื่นตัวต่อประเด็นเหล่านี้! #AsiaWakeUp


เริ่มต้นวันด้วยการเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 กันยายน ตัวแทนภาคประชาสังคมรวมถึงสมาชิกตัวแทนชุมชนจำนวนกว่า 100 คนได้เข้าร่วมงานเสวนา “CSO Safe Space” กับ ดร.พิชามญชุ์ เอี่ยวพานทอง สมาชิกใหม่ของคณะทำงานแห่งสหประชาชาติ (UNWG) ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน คุณ Tomoyo Obokata ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติในประเด็น Contemporary Forms of Slavery และอดีตสมาชิก UNWG ทั้งสองท่าน อันได้แก่ ศาสตราจารย์ Surya Deva และศาสตราจารย์ Anita Ramasastry นี่เป็นครั้งแรกที่การประชุม RBHR Forum ประจำภูมิภาคเอเชียได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากองค์กรภาคประชาสังคมและชุมชนต่าง ๆ แต่แล้วทำไมในการเดินทางมาร่วมงานของเครือข่ายจำนวนมากในครั้งนี้ พวกเรากลับไม่ได้รับเงินทุนสนับสนุน?


สมาชิกของคณะทำงาน Asia Task Force ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ ตัวแทนสมาชิกจากชุมชนต่าง ๆ และองค์กรภาคประชาสังคมจำนวนมาก กลับไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือใด ๆ กับทีมโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งภูมิภาคเอเชีย UNDP BHR Asia อย่างเป็นกิจจะลักษณะ นี่คือประเด็นสำคัญที่เราต้องการสื่อให้ทุกคนทราบว่า ในขณะที่ผู้จัดงานกำลังพึงพอใจกับการที่พวกเขาสามารถภาคประชาสังคมจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมในประชุมครั้งนี้ได้ แต่หารู้ไม่ว่าองค์กรผู้เข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้หลายองค์กร กลับต้องระดมทุนด้วยตัวของพวกเขาเองเพื่อนำเครือข่ายต่าง ๆ ได้เข้ามาเรียกร้องและบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขา ที่ไม่ได้รับการปกป้องและคุ้มครองภายใต้กลยุทธ์ของทีมครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งภูมิภาคเอเชีย UNDP BHR Asia ที่พวกเขามุ่งเน้นเพียงแผนปฏิบัติการ NAP และการบังคับใช้แนวทางการตรวจสอบความรับผิดในด้านสิทธิมนุษยชนที่ไร้ประสิทธิภาพ


อย่างไรก็ตาม ทีมงานของพวกเราได้เดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมากเพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์ของชุมชนระดับรากหญ้าและ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการถูกภาคธุรกิจละเมิกสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงจะได้รับการสนับสนุน อีกทั้งพวกเรายังได้เรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้เสียมีการดำเนินการตามโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNGP อย่างมีประสิทธิภาพผ่านมาตรการการบังคับใช้ 'CSO Safe Space' ที่ได้ร่วมดำเนินรายการโดยผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารมูลนิธิมานุษยะ เอมิลี่ ปาลามี ประดิจิตร ร่วมกับ ศอ รัตนมณี พลกล้า ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ทรัพยากรชุมชน ถือเป็นโอกาสในการแบ่งปันข้อท้าทายต่าง ๆ ต่อผู้เชี่ยวชาญอิสระของสหประชาชาติ และการแถลงเผยของการต่อสู้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเครือข่ายแนวหน้าอย่างเปิดของพวกเรา เอมิลี่ ประดิจิตร และเครือข่ายชุมชนได้เน้นย้ำถึงความไร้ประสิทธิภาพของแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ของประเทศไทย และความจำเป็นในการดำเนินการตามมาตรการที่มีผลผูกพันและบังคับทางกฎหมายให้เป็นไปเพื่อการปกป้องสิทธิของชุมชน


“ประชาชนไม่ต้องการแผนปฏิบัติการ NAP อีกต่อไป แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนนั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา เราเข้าใจดีว่าพวกคุณ [UNWG คณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน] ต้องการใช้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNGP แต่สำหรับพวกเรา วิธีที่ดีที่สุดในการนำโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNGP ไปบังคับใช้นั่นคือ เราควรเดินหน้าไปยังการบังคับให้มีความรับผิดและการประกันสิทธิในด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงสนธิสัญญาที่สามารถมีผูกพันตามกฎหมาย


เอมิลี่ ประดิจิตร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของมูลนิธิมานุษยะ




“แผนปฏิบัติการ NAP นั้นไร้ประสิทธิภาพเช่นเดียวชื่อของมัน (NAP แปลว่าการงีบหลับ) และภาคธุรกิจต่าง ๆ เองก็ไม่ได้บังคับใช้หรือปฏิบัติตามเพราะเข้าใจถึงความสำคัญและจำเป็นของแผนปฏิบัติการฉบับนี้ได้อย่างแท้จริง ธุรกิจต่าง ๆ กลับนำความหลากหลายทางเพศมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด rainbow-washing แต่เพียงท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องการใช้โอกาสนี้เพื่อประณามแผนปฏิบัติการ NAP – เพราะมันไม่สามารถนำมาปกป้องสิทธิอะไรได้อย่างแท้จริง เราต้องการมาตรการตรวจสอบและการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภาคบังคับ พวกเราไม่ต้องการที่จะเห็นนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่ปกป้องสิทธิของผู้หญิงและกลุ่ม LGBTQ+ เผชิญกับการฟ้องคดีปิดปาก หรือ SLAPP อีกต่อไป เราต้องการกฎหมายที่สามารถคุ้มครองผู้หญิงและกลุ่มเพศหลากหลายได้จริง อีกทั้งเราต้องการให้ผู้มีส่วนได้เสียมองว่าประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก”


- นาดา ไชยจิตต์ นักเคลื่อนไหว LGBTIQ+ และที่ปรึกษางานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน มูลนิธิมานุษยะ




“ผลกระทบของการขุดเจาะเหมืองทองโดยบริษัทในออสเตรเลียนั้นส่งผลเสียในระยะยาว สารเคมีที่รั่วไหลออกจากการทำเหมือง เช่น ไซยาไนด์ ได้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังปนเปื้อนในอาหารของพวกเราและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราอย่างมาก บ้านของสมาชิกในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ก็มีรอยแตกร้าวที่มาจากการระเบิดเหมือง ชาวบ้านบางคนที่ออกมาปกป้องสิทธิของพวกเขากลับต้องเผชิญกับการคุกคามและคำขู่ต่าง ๆ อีกทั้งพวกเรายังถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเพราะเขาพยายามที่ปิดปากพวกเรา


- พรีมสินี สินธรธรรมมาทัช ผู้นำชุมชนชาวบ้านพิจิตร




เรายืนหยัดอยู่ที่แนวหน้า: พวกเราต่างหากที่จะต้องเป็นคนเล่าเรื่องราวของพวกเรา ไม่ใช่ให้ 'ผู้เชี่ยวชาญ' มาเล่าเรื่องราวของเราต่อหน้าพวกเรา!


แม้ว่าบนเวทีธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่จัดโดยสหประชาชาติจะนำเสนอไว้ว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รวมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญประจำสหประชาชาติ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจต่าง ๆ มาเพื่อให้สามารถพบปะและร่วมพูดคุยกันอย่างเท่าเทียมกัน เรากลับเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างประการสำคัญระหว่างกลุ่มที่มีความหลากหลายเหล่านี้ เพราะเครือข่ายชุมชนและนักเคลื่อนไหวสิทธิต่างต้องดิ้นรนและต่อสู้เพื่อสิทธิของตน สิทธิในการรักษาสุขภาพเมื่อเผชิญกับมลพิษทางอุตสาหกรรม สิทธิในการทำมาหากินในบนที่ดินทำกินของบรรพบุรุษของพวกเขา สิทธิในการพูดความจริงและสิทธิในความยุติธรรมของพวกเขาเมื่อครอบครัวและคนจากชุมชนของพวกเขาถูกยัดข้อหาให้กลายเป็นอาชญากร ถูกจำคุก ไปจนถึงการถูกฆ่าเอาถึงชีวิต หรือแม้กระทั่งสิทธิของพวกเขาที่จะพูดความจริงเพื่อต่อกรกับผู้อำนาจทั้งหลายโดยปราศจากการถูแโจมตีจากภาคธุรกิจเพื่อปิดปากพวกเขา เป็นที่แน่นอนว่าพวกเขานั้นต่างจากบุคคลผู้เป็นสมาชิกในองค์กรที่มุ่งแสวงหาผลกำไร


ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่ในการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ผู้เชี่ยวชาญกลับได้ออกมาพูดถึงการต่อสู้ดิ้นรนของชุมชนรากหญ้า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงและในด้านสิ่งแวดล้อม เพราะแท้จริงแล้ว สมาชิกชุมชนเองก็ได้อยู่ในห้องแห่งนี้ด้วย กลับได้รับอนุญาตให้เล่าความจริงและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของพวกเขาด้วยเสียงของพวกเขาแค่ในช่วงของการถาม & ตอบเท่านั้น เราจึงถูกทิ้งให้สงสัยว่า: นี่หรืองานเสวนาที่ครอบคลุมทุกประเด็น และเกิดข้อสงสัยที่ว่าผลของงานเสวนาในครั้งนี้จะถูกนำไปดำเนินการต่อยัง ณ การประชุมธุรกิจระดับโลกและสิทธิมนุษยชนที่กำลังจะเกิดขึ้นในเจนีวาหรือไม่?


ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น? มูลนิธิมานุษยะและสมาชิกในชุมชนเครือข่าย BHR ของไทยได้ถูกพาไปยัง “Streets” - หนึ่งในห้องประชุมอย่างเป็นทางการภายในศูนย์การประชุมสหประชาชาติในกรุงเทพฯ - และพวกเราได้ทำการถือป้ายชุมนุมประท้วงในระหว่างการประชุมอย่างเป็นทางการของ "โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNGPs สู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง” เราได้สื่อสารออกไปอย่างชัดเจน จะต้อง ไม่มีการฟ้องคดีปิดปาก/SLAPPs อีกต่อไป ไม่มีการนำความหลากหลายทางเพศมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด rainbow-washing อีกต่อไป และยังรวมถึงการไม่ละเลยต่อกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองหรือผู้ค้าบริการทางเพศ เพราะสิ่งที่ประเทศไทยต้องการจริง ๆ คือมาตรการบังคับใช้ที่เข้มงวดซึ่งควบคุมการดำเนินการของภาคธุรกิจได้: กฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภาคบังคับในระดับชาติ และสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมายว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในระดับสากล



การประท้วงซึ่งไม่ได้ถูกนำไปเผยแพร่ไว้ในบันทึกการประชุมอย่างเป็นทางการ ได้ดำเนินการขึ้นระหว่างการแทรกแซงอันแข็งแกร่งของเอมิลี่ ประดิจิตร ที่ไม่เพียงแต่สะท้อนการทำงานของรัฐบาลไทย แต่ยังรวมไปถึงทีมครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งภูมิภาคเอเชีย UNDP BHR Asia เอมิลี่ได้เล่าถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ของประเทศไทย นี่คือข้อความส่วหนึ่งที่เราได้ยกมาจากช่วงการแทรกแซงของเธอ:

“ทีมโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ได้สนับสนุนรัฐบาลไทย โดยยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยการเผยแพร่วิดีโอและสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดำเนินการ เพราะหลักการชี้แนะของสหประชาชาติหรือ UNGPs ไม่ได้ถูกนำมาดำเนินการผ่านแผนปฏิบัติการ NAP แต่อย่างใด อีกทั้งมันยังไม่สามารถใช้การได้ในประเทศไทยอีกด้วย ท้ายที่สุดแล้ว เรามีแผนปฏิบัติการ NAP ที่ไร้ประสิทธิภาพและอ่อนแอมาก! เหมือนมีเพียงมาตรการที่ถูกนำออกมาบังคับใช้อย่างสมัครใจเท่านั้น
และในช่วงแปดปีที่ผ่านมา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงกว่า 450 คน ถูกฟ้องคดีปิดปาก และขณะนี้พวกเธอยังคงต้องเผชิญกับการยืมมือของกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยคุกคามอีกด้วย! แผนปฏิบัติการ NAP ไม่ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลยเพราะไม่มีมาตรการต่อต้านการฟ้อวคดีปิดปาก และไม่มีมาตรการบังคับในตัวของมันเองเพื่อปกป้องพวกเราจากอการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจในแบบต่าง ๆ สถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยกลับยิ่งเลวร้ายลงในทุกวัน ๆ
วิธีเดียวที่เราจะสามารถนำหลักการชี้แนะของสหประชาชาติหรือ UNGPs ไปปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ จะต้องผ่านการตรวจสอบและวิเคราะห์การบังคับมาตรการในเรื่องความรับผิดในด้านสิทธิมนุษยชนที่และความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อการดำเนินการให้มีการเยียวยาและการชดเชยที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพแก่ชุมชน พวกเราทนกันมามากเกินพอแล้ว!
นอกจากนี้เรายังต้องการให้ภาครัฐในภูมิภาคเอเชียเข้าไปมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันในทางกฎหมายว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เพราะแผนปฏิบัติการ NAP เพียงอย่างเดียวชัดเจนแล้วว่าไม่เพียงพอ ได้เวลาหยุดการงีบหลับของแผนปฏิบัติการนี้ NAPping เสียที เราต้องให้การให้คุณค่าของผู้คนและโลกเหนือผลกำไร ขอบคุณค่ะ”

เอมิลี่ ประดิจิตร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของมูลนิธิมานุษยะ


ในการโต้ตอบกลับไปยังตัวแทนของรัฐบาลไทยที่ระบุว่าแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ของประเทศไทยนั้นเป็นก้าวแรกที่ดีอีกทั้งยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตามมามากมาย นาดา ไชยจิตต์ ที่ปรึกษางานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนของมูลนิธิมานุษยะ ได้กล่าวแย้งอย่างแข็งขันว่าก้าวแรกที่ดีจะต้องไม่ส่งผลให้เกิดการฟ้องคดีปิดปาก หรือ SLAPP เพิ่มขึ้นเช่นนี้!


รับชมการแทรกแซงเต็มรูปแบบของ เอมิลี่ ประดิจิตร, นาดา ไชยจิตต์ ระหว่างการประท้วงและการแทรกแซงของตัวแทนและเครือข่ายมูลนิธิมานุษยะ: 'พิมพ์' แทนฤทัย แท่นรัตน์จาก #Saveบางกลอย และนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย 'เบสท์' ชิษณุพงศ์ นิธิวนา ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารองค์กร Young Pride Club, คะติมะ หลีจ๊ะ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสตรีชนเผ่าพื้นเมือง และสมาชิกเครือข่ายของมูลนิธิมานุษยะ: นิตยา ม่วงกลาง ผู้นำชุมชนซับหวาย #Saveชาวบ้านซับหวาย และ ศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา ผู้อำนวยการกลุ่มคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม



สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของเรา: มูลนิธิมานุษยะในงาน #RBHRF2022 มาดูไฮไลต์ของงานกัน!


NAP = SLAPP? (แผนปฏิบัติการ NAP = การฟ้องคดีปิดปาก มีความหมายว่าอย่างไร?)


มูลนิธิมานุษยะยังได้จัดการประชุมส่วนตัวร่วมกับ ดร.พิชามญชุ์ เอี่ยวพานทอง สมาชิกใหม่ของคณะทำงานแห่งสหประชาชาติ (UNWG) ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนเรื่องราวของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงทั้งสองคน: พรีมสินี สินทรธรรมทัช ผู้นำชุมชนจากพิจิตร และ นาดา ไชยจิตต์ นักเคลื่อนไหว LGBTIQ+ และ ที่ปรึกษางานรณรงค์สิทธิมนุษยชนมูลนิธิมานุษยะ

นาดา ไชยจิตต์ ต้องเผชิญการถูกฟ้องคดีปิดปากหรือ คดี SLAPP หลังจากที่เธอได้ออกมาประณามการล่วงละเมิดทางเพศจากเหตุการณ์หญิงข้ามเพศท่านหนึ่งที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน บนโซเชียลมีเดียส่วนตัวของเธอ จากนั้นเธอได้ถูกผู้กระทำความผิดที่รู้จักกันในนาม นักธุรกิจและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงจากพรรค ก้าวไกล (MFP) ฟ้อง ในข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดอื่น ๆ อีกหลายประการ จากข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นกับนาดา ถือเป็นการละเมิดสิทธิดิจิทัลและเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกโดยเสรีของเธออย่างร้ายแรง สามารถอ่านคำร้องเรียนฉบับเต็มของนาดา ไชยจิตต์และมูลนิธิมานุษยะได้ที่นี่





พรีมสินี สินทรธรรมมาทัช ถูกฟ้องโดยบริษัทเหมืองทองคำของภาคธุรกิจที่ได้ดำเนินการสร้างโดยส่งผลกระทบอย่างรุนแรงที่ทำลายสุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนในจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ อีกทั้งยังได้มีการพยายามฟ้องคดีเพื่อปิดปากชุมชนอีกด้วย ตลอด 13 ปีของการดำเนินการขุดเหมืองทองคำที่ผ่านมา พรีมสินีถูกฟ้องในข้อหาให้การเป็นพยานเท็จต่อศาล (ตามมาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) การถูกฟ้องคดีปิดปากหรือ SLAPP ได้เกิดขึ้นหลังจากที่เธอแพ้คดีในศาลอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเธอเพียงแค่ทำการเรียกร้องค่าชดเชยจากความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยของเธอที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองแค่เพียงเท่านั้น




จากการสร้างความเชี่ยวชาญในการมีส่วนร่วมต่อกลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มูลมานุษยะได้สนับสนุนให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง WHRD ทั้งสองคน ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ ดร.พิชามญชุ์ เอี่ยวพานทอง เพื่อแสวงหาความยุติธรรมและเพื่อให้ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติที่เป็นอิสระ ให้สามารถสื่อสารไปยังรัฐบาลไทยเพื่อเรียกร้องให้มีการคุ้มครองและปฏิบัติตามข้อบังคับภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อย่างเคร่งครัดต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง WHRD ทั้งสอง


การลอยนวลพ้นผิดของภาคธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านที่ไม่เป็นธรรมในประเทศไทย: ชุมชนและผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมยังคงถูกคุกคามอยู่เช่นเดิม!


แม้ประเทศไทยจะได้รับการยกย่องในเวทีระหว่างประเทศ แต่สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือ เราทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ แต่ชุมชนเหล่านั้นยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากการลอยนวลพ้นผิดขององค์กร เพราะนอกเหนือไปจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการรุกรานของภาคธุรกิจที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ ชุมชนเหล่านี้ยังต้องแบกรับผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเอง อีกทั้งยังรวมถึงโครงการพลังงาน ‘หมุนเวียน’ ด้วยเช่นกัน: การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ไม่เป็นธรรมนั้นกลับถูกสนับสนุนโดยรัฐบาลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปฏิบัติตามการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเหตุการณ์นี้พวกเขาถึงลอยนวลพ้นผิดได้ เพราะนำประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาบังหน้าอย่างไรล่ะ!


หากทุกคนจำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนนาบอนได้ พวกเขาได้ออกมาต่อต้านโรงงานเผาชีวมวลที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและการดำรงชีวิต รวมถึงชุมชนลาวซึ่งถูกพรากชีวิตไปถูจากการทรุดตัวของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลไทย หรือทุกคนยังจำสถานการณ์ของ นิตยา ม่วงกลาง นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรีและหัวหน้าชุมชนชาวบ้านซับหวาย ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากรภายใต้การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดและไม่เป็นธรรมของประเทศไทย อีกทั้งเธอและชาวบ้านยังถูกบังคับและขับไล่ออกจากที่ดินทำกินได้อยู่หรือไม่?


นิตยาและคะติมะ หลีจ๊ะ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชนเผ่าพื้นเมืองชาวลีซู ได้เป็นตัวแทนของชุมชุนขึ้นกล่าวในระหว่างการเสวนาหัวข้อ “ผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมในฐานะผู้เรียกร้องเพื่อการเปลี่ยนแปลง: การสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ” อีกทั้งยังได้กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของรัฐบาลไทย ที่ได้รับการสนับสนุนและได้ถูกรับรองโดยองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลกและยูเนสโก อ่านการแทรกแซงของพวกเธอได้ด้านล่าง:



สิ่งสำคัญคือเราสามารถเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามเส้นทางของภาคธุรกิจ เราควรทำให้แน่ใจได้ว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปราศจากการใช้คาร์บอนนั้นเป็นแนวทางที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ทับซ้อน เฟมินิสต์ และยุติธรรม โดยมุ่งเน้นไปที่สิทธิมนุษยชนของชุมชนและกลุ่มคนชายขอบที่อาศัยมานับแต่อดีต



สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของเรา: Why Do We Need an Intersectional Feminist, Just & Green transition?





แผนปฏิบัติการ NAPs ทุกฉบับ และการบังคับใช้หลักการหรือเครื่องมือในปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเอเชีย: ปัญหาและแนวทางแก้ไข



ในตลอดการประชุม ได้มีความเห็นที่เน้นย้ำอย่างชัดเจนถึงความไร้ประสิทธิภาพของแผนปฏิบัติการ NAP-BHR และการบังคับใช้หลักการหรือเครื่องมือในปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมี ในอีเว้นท์เสริมที่จัดโดยมูลนิธิ มานุษยะและพันธมิตรเครือข่ายจาก ESCR-Net, ATF, BHRRC, Altsean-Burma, Indian Social Action Forum (INSAF), Korean Transnational Corporations Watch (KTNC Watch) และ Human Rights Now ที่ชื่อว่า “National Actions Plans: Stocktaking and Charting the Way Forward” ที่ได้มีการแบ่งปันแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อท้าทาย รวมถึงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อผลักดันให้เกิดความรับผิดที่แท้จริงขององค์กรภาคธุรกิจ


เซสชั่นการประชุมดำเนินรายการโดย Debbie Stothard (จากองค์กร Altsean-Burma) ร่วมกับวิทยากรผู้โดดเด่นประจำแต่ละภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ เอมิลี่ ประดิจิตร (มูลนิธิมานุษยะ), Vidya Dinker (INSAF), Shin Young Chung (KTNC Watch), Ryutaro Ogawa (Human Rights Now) และ Hsin-Hsuan Sun (Environmental Rights Foundation) ในระหว่างการอภิปรายที่เข้มข้ม วิทยากรทุกท่านล้วนได้ตรวจสอบกระบวนการแผนปฏิบัติการ NAP ในอินเดีย ญี่ปุ่น และไทย และแนวทางการบังคับใช้หลักการหรือเครื่องมือในปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ได้พัฒนาขึ้นในญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน และพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการบังคับใช้มาตรการและการให้ความคุ้มครองในด้านความรับผิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม


เพื่อหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ผิดพลาดในกรอบการทำงานต่าง ๆ รวมถึงแผนปฏิบัติการ NAP-BHR เอมิลี่ ประดิจิตร ได้เน้นย้ำว่ากฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องรวมองค์ประกอบหลัก เช่น การเข้าถึงการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบทางแพ่งและทางอาญาของภาคธุรกิจ การให้ความคุ้มครองแด่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และในเบื้องต้น ซึ่งเป็นกระบวนการปรึกษาหารือที่มีความหมายกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชุมชนชายขอบ เช่น ชนพื้นเมืองจำเป็นต้องให้ความยินยอมล่วงหน้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


“เราต้องการการดำเนินการที่สามารถปกป้องและคุ้มครองชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพียงแค่ทำตามข้อกำหนดให้ครบถ้วน แต่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง เราต้องการเห็นการลงมือและการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจในเรื่องการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพโดยท่องแท้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเป็นเรื่องสนธิสัญญาทางกฎหมายในด้านภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่สามารถรับประกันได้ว่าทุกภาคธุรกิจจะต้องบังคับใช้การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ควรจะต้องมีการดำเนินการที่นำโดยภาคประชาสังคมและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่แต่เพียงจากบริษัทหรือหน่วยที่รับเรื่องโดยอิสระที่ห้บริการแก่ภาคธุรกิจ และส่วนมากบริษัทภาคธุรกิจเหล่านี้จะใช้อำนาจเข้าควบคุมชุมชนโดยการกล่าวอ้างไปถึงรายชื่อของชุมชุนเสมือนกับว่าได้ ‘ความยินยอม’ มาจากชุมชนเหล่านั้นแล้ว”

- เอมิลี่ ประดิจิตร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของมูลนิธิมานุษยะ



คณะกรรมการระดับนานาชาติ ยังได้เน้นย้ำถึงบทบาทของความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างภาคประชาสังคม ซึ่ง เด็บบี้ สโตธาร์ด (Debbie Stothard) ผู้ดำเนินรายการได้สรุปไว้ดังนี้:


“พวกเราทุกคนทำงานร่วมกันทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการที่พวกเราร่วมรณรงค์กันเพื่อให้สนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมายถูกนำมาบังคับใช้ในเจนีวา หรือไม่ว่าจะเป็นการที่พวกเราได้มาทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาค ณ ที่แห่งนี้แล้วก็ตาม แม้จะเป็นระยะเวลาแค่เพียงสองวันเท่านั้น แต่ฉันสัมผัสได้ถึงความยืนหยัดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพวกเราที่เข้มแข็งมาก และฉันรู้สึกมีความหวังไปในทิศทางที่ดีกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก”

เด็บบี้ สโตธาร์ด กล่าว


รับชมวิดีโองาน Side Event ได้ที่นี่:


ก้าวต่อไปของเรา

ก้าวต่อไปของมานุษยะในประเทศไทย


ในอีก 1 เดือนข้างหน้า มูลนิธิมานุษยะจะเผยแพร่ผลการประเมินการดำเนินการของแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ฉบับแรกของประเทศไทยที่จัดทำขึ้นโดยพวกเรา ในรายงานฉบับนี้จะเป็นการอ้างอิงจากหลักฐานที่รวบรวมขึ้นโดยชุมชนเครือข่ายของพวกเรา ต่อการติดตามกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจ โดยการวิจัยเชิงลึกนี้จะเปิดเผยข้อเท็จจริงที่อยู่เบื้องหลังข้อกล่าวอ้างของรัฐบาล และจะแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศ อีกทั้งในตอนนี้ ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่านอกจากแผนปฏิบัติการ NAP-BHR จะล้มเหลวเมื่อนำมาบังคับใช้ แผนปฏิบัติการ NAP-BHR ฉบับที่สองเองก็มีทีท่าจะล้มเหลวโดยพลาดซ้ำรอยเดิมอีกด้วย เราขอให้ทุกคนช่วยติดตามและจับตามองในระหว่างที่พวกเราจะดำเนินการเปิดเผยความคิดเห็นของเราต่อแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ฉบับที่สองของประเทศไทยในเร็ว ๆ นี้!


เพราะฉะนั้นในก้าวต่อไปของเรา ภาครัฐจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเสียที รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เข้าร่วมกระบวนการร่างธุรกิจและสิทธิมนุษยชนให้มีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย อีกทั้งออกกฎหมายที่สามารถคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการถูกฟ้องปิดปาก พอกันทีกับความไร้ประสิทธิภาพของแผนปฏิบัติการฉบับนี้ ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐจะต้อง #หยุดNAPping!


ก้าวต่อไปของมานุษยะ บนเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน UN Business & Human Rights Forum ในเร็ว ๆ นี้

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าประชาชนจากทั่วทุกมุมโลกได้แสดงท่าทีผิดหวังอย่างมากต่อแผนปฏิบัติการ NAP-BHR ที่ไร้ประสิทธิภาพและมาตรการขอความร่วมมือจากภาคประชาสังคม voluntary measure ด้วยเหตุนี้มูลนิธิมานุษยะจะร่วมเดินหน้าไปพร้อมกับเครือข่ายภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออก ละตินอเมริกา และยุโรปเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมในการเผชิญปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนงาน UN BHR Forum ครั้งที่ 11 ที่กรุงเจนีวา โปรดติดตามและช่วยให้การสนับสนุนพวกเรา!


อย่าเพิ่งกดออก…

➡️ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของเราด้าน #ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย

Comments


bottom of page